THE SUN แผ่นฮีตเตอร์อินฟราเรด 1000W หรือ แผ่นฮีตเตอร์ทำความร้อน ใช้เป็นส่วนประกอบในเตาอบไฟฟ้าทั่วไป ติดตั้งสะดวก ราคาย่อมเยา
แผ่นฮีตเตอร์อินฟราเรด 1000W ให้ความร้อนแบบอินฟราเรด ช่วงอุณหภูมิหน้าแผ่นฮีตเตอร์ 200-600 ํC องศาเซลเซียส ขนาดมาตรฐาน 150 x 450 x 25 มม. ประหยัดค่าใช้จ่าย ติดตั้งง่าย
จุดเด่น
- ใช้เป็นส่วนประกอบให้ความร้อน ในเตาอบไฟฟ้าทั่วไป
- แผ่นฮีตเตอร์ ให้ความร้อนแบบอินฟราเรด
- ติดตั้งสะดวก ราคาย่อมเยา
รายละเอียด
- สามารถแผ่รังสีความร้อนควบคุมได้ง่าย และคงที่สม่ำเสมอ
- รูปทรงแบนสี่เหลี่ยม ขอบเหล็ก ติดตั้งง่าย
- สามารถเลือกลักษณะรูปร่างฮีตเตอร์ได้หลายแบบ เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน
- ใช้ในงานอบสี พืชผลทางการเกษตร อบอาหาร งานพิมพ์ เป็นต้น
- เหมาะสำหรับใช้ไฟ 220V
ข้อดีของการให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรด
การให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรดมีข้อดีดังต่อไปนี้
- ทำความร้อนและลดความร้อนได้อย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่เตาอบไฟฟ้าที่ใช้รังสีอินฟราเรดสามารถทำความร้อนให้ผลิตภัณฑ์ได้ในเวลาไม่กี่วินาที
- เตามีขนาดเล็ก เนื่องจากการให้ความร้อนที่รวดเร็ว ทำให้ต้องการพื้นที่ว่างในเตาน้อยลง
- เป็นเตาที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- มีการควบคุมอุณหภูมิในการให้ความร้อนที่แม่นยำ
- มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ค่าบำรุงรักษาต่ำ
ข้อควรระวัง
- การให้ความร้อนแบบอินฟราเรด สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ตัววัสดุจะต้องดูดซับรังสีได้ดี ดังนั้น วัตถุบางชนิดที่มีผิวมันวาวหรือมีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี จะไม่เหมาะกับการให้ความร้อนด้วยวิธีนี้
- ถ้าต้องการควบคุมอุณหภูมิ พยายามวางหัววัดอุณหภูมิให้ใกล้วัตถุมากที่สุด หรือ ใช้หัววัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด
คุณสมบัติ
รายการ | กว้าง x ยาว x สูง (ซม.) | น้ำหนัก (กรัม) |
ฮีตเตอร์ เดอะซัน | 15 x 45 x 2.5 ซม. | 2,800 กรัม |
สินค้าภายในกล่อง
1 x THE SUN แผ่นฮีตเตอร์อินฟราเรด 1000W (1 อัน) |
ข้อมูลเพิ่มเติม
ฮีตเตอร์ หรือ Infrared Heater คืออุปกรณ์ให้ความร้อนกับชิ้นงานด้วยวิธีการทำให้เกิดความร้อนภายในตัวชิ้นงานร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยคลื่นอินฟราเรดมีความยาวคลื่น แสงประมาณ 5-10 ไมครอน ซึ่งวัตถุต่างๆ สามารถดูดซับคลื่นแสงที่มีความยาวคลื่นขนาดนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร, ห้องอบสี, งานบรรจุหีบห่อ, อบขึ้นรูปพลาสติก ฮีตเตอร์ลักษณะนี้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการให้มีความร้อนในการอบชิ้นงานที่สม่ำเสมอให้ความอบอุ่นแก่คนหรือสัตว์เลี้ยง ฮีตเตอร์อินฟราเรดสามารถให้ความร้อนในกระบวนการอย่างสม่ำเสมอ ลดการเกิดความเสียหายของชิ้นงาน มีรูปแบบการติดตั้งที่หลากหลายให้เลือกใช้ ซึ่งแตกต่างจากฮีตเตอร์อินฟราเรดแบบอื่นในท้องตลาด และสามารถทำตามที่ลูกค้าต้องการได้ ฮีตเตอร์อินฟราเรดไม่เหมาะกับการใช้งานกับวัตถุเพียงชนิดเดียว คือ วัตถุที่สะท้อนแสงได้ เช่น ของที่มันวาว เนื่องจากวัตถุที่มันวาวจะไม่ดูดซับแสง ควรใช้หัววัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรคด้วยหรือหัววัดอุณหภูมิเทอร์โมคัปเปิล โดยให้ติด ตั้งไกล้วัตถุเป้าหมายมากที่สุดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ฮีตเตอร์ทำความร้อน ใช้เป็นส่วนประกอบในเตาอบไฟฟ้าทั่วไป ติดตั้งสะดวกให้ความร้อนแบบอินฟาเรด ขนาดมาตราฐาน
ฮีตเตอร์ (Infared Heater) คือ อุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานโดยวิธีการแผ่รังสีความร้อน ซึ่งแตกต่างจากฮีตเตอร์รูปแบบอื่นๆ เหมาะสำหรับงานให้ความร้อนกับแม่พิมพ์ หรืองานอบไล่ความชื้น เช่น อบสี, อบฟิล์มหด, งานบรรจุหีบห่อ, ขึ้นรูปพลาสติก, อบให้ความร้อน, ซีลฝาครอบ, ซีลคอขวด, ใช้ในกระบวนการถนอมอาหาร เป็นต้น
ฮีตเตอร์ (Infared Heater) มีข้อดีคือ วิธีการแผ่รังสีความร้อนควบคุมได้ง่าย ให้ความร้อนคงที่และสม่ำเสมอ ไม่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองและมลภาวะ อีกทั้งประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่เป็นต้นทุนการผลิตได้สูงถึง 30-50%
ลักษณะของ ฮีตเตอร์Infrared Heater เป็นการส่งผ่านความร้อนแบบแผ่รังสี (เหมือนกับดวงอาทิตย์ส่งความร้อนมายังโลก) จึงมีประสิทธิภาพสูง ความสูญเสียต่ำ ประหยัดไฟได้ 30-50% สามารถให้ความร้อนวัตถุได้ถึงเนื้อใน จึงทำให้ประหยัดเวลาได้ 1-10 เท่า (การให้ความร้อนแบบการพา และการนำความร้อนจะทำให้วัตถุร้อนเฉพาะที่ผิว แล้วค่อยๆ ซึมเข้าไปเนื้อในจึงใช้เวลามาก) มีขนาดเล็กกว่าฮีตเตอร์แบบทั่วๆ ไป ทำให้ประหยัดเนื้อที่ การติดตั้ง และการถอดเปลี่ยนเพื่อซ่อมบำรุงง่าย มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากไม่มีเปลวไฟ ตัวเรือนมีความเป็นฉนวนสูง ไฟไม่รั่ว ให้รังสีช่วง 3-10 µm. ซึ่งเป็นช่วงที่วัสดุเกือบทุกชนิดสามารถดูดซับรังสีได้ดี
การให้ความร้อนด้วย รังสีอินฟราเรด
ฮีตเตอร์อินฟราเรดเป็นการใช้ประโยชน์ จากความร้อนที่เกิดขึ้นจากการดูดกลืนพลังงาน (Dielectric Absorption) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงอินฟราเรดที่ตกกระทบวัตถุ ไดอิเล็กทริก ในช่วงความถี่ดังกล่าว จะเกิดการดูดกลืนพลังงานในการ Resonance ระหว่างความถี่ของ คลื่นตกกระทบกับการสั่นเฉพาะตัวของอะตอมที่ประกอบเป็นวัตถุ ดังนั้น วัตถุแต่ละชนิดจึงมีสเปกตรัมการดูดกลืนแสงเฉพาะตัวต่อความถี่ (ความยาวคลื่น) หนึ่งๆ
เนื่องจาก รังสีอินฟราเรด ฮีตเตอร์อินฟราเรดinfrared มีช่วงความถี่เชิงแสงที่มีค่าสูง พลังงานของคลื่นตกกระทบเกือบทั้งหมดจึงถูกดูดกลืนโดยชั้นพื้นผิว และลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อลึกเข้าไปในเนื้อวัตถุ แนวโน้มนี้จะปรากฏเด่นชัดในกรณีของรังสีอินฟราเรดใกล้ ซึ่งมีความยาวคลื่นสั้น และความหนาแน่นพลังงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
1) ฮีตเตอร์อินฟราเรดพลังงานความร้อนจะถ่ายเทให้วัตถุโดยตรงด้วยการแผ่รังสีโดยไม่ต้องใช้ตัวกลางถ่ายเทความร้อน จึงมีความร้อนสูญเสียต่ำ และสามารถให้ความร้อนอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกัน จะมีจุดอ่อนที่ให้ความร้อนส่วนที่เป็นเงาของวัตถุได้ยาก
2) ฮีตเตอร์อินฟราเรดinfrared ความจุความร้อนของแหล่งกำเนิดรังสีและอุปกรณ์ให้ความร้อนมีค่าน้อยและ เป็นการให้ความร้อนด้วยการแผ่รังสี ดังนั้น จึงมีการตอบสนองต่อการควบคุมอุณหภูมิที่ดี สามารถควบคุมอุณหภูมิได้สะดวก เหมาะสมกับการควบคุมอัตโนมัติ
3) ฮีตเตอร์อินฟราเรดรังสีอินฟราเรด มีช่วงความถี่เชิงแสงที่มีค่าสูง ดังนั้น จึงเหมาะกับการให้ความร้อนบริเวณพื้นผิวของวัตถุไดอิเล็กทริก
4) ฮีตเตอร์อินฟราเรดวัตถุชนิดต่างๆ จะมีคุณลักษณะเฉพาะตัวในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดที่ตกกระทบ ดังนั้น จึงต้องเลือกใช้แหล่งกำเนิดรังสีที่มีคุณลักษณะเหมาะกับคุณลักษณะดังกล่าวของวัตถุเพื่อให้เกิดประสิทธิผลดี
การแบ่งประเภทฮีตเตอร์ตามลักษณะการใช้งาน
1. ฮีตเตอร์ แบบแท่ง – เรียกว่า Cartridge Heater คือเป็นฮีตเตอร์ที่มีลักษณะเป็นแท่ง นิยมใช้ให้ความร้อนกับงานที่มีความแข็ง เช่น แม่พิมพ์ เหล็ก อลูมิเนียม และโลหะ เป็นต้น ในการใช้งานมักจะเอามาใข้สำหรับการบรรจุหีบห่อ ใช้ในงานขึ้นรูปวัสดุเซรามิก และขึ้นรูปพลาสติก
2. ฮีตเตอร์ แบบแผ่น – เรียกว่า Strip Heater เป็นลักษณะแผ่นที่สามารถใช้ออกแบบให้เป็นรูปทรงได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทรงกลม ทรงสีเหลี่ยมจตุรัส และทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นต้น คุณสมบัติเหมาะสำหรับให้ความร้อนโดยการแนบกับชิ้นงาน
3. ฮีตเตอร์ แบบรัดท่อ – เรียกว่า Band Heater เป็นฮีตเตอร์ทรงวงแหวน แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิดคือ ฮีตเตอร์อินฟราเรดแท่งสีดำ ติดตั้งได้ 360 องศา ภายในประกอบด้วยลวดตัวนำ และผงแมกนีเซียมออกไซด์อยู่ด้วย สามารถเป็นฉนวนที่นำความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ จะไม่นำไฟฟ้า แต่จะให้ความร้อนด้วยการแผ่รังสี มักติดตั้งกับโคมสังกะสี ช่วยสะท้อนความร้อนให้แก่ชิ้นงานได้ดียิ่งขึ้น ส่วนฮีตเตอร์อินฟราเรดสีขาว จะติดตั้งได้แค่ในแนวนอนเพียงอย่างเดียว เพราะไม่มีการกรอกผงแมกนีเซียมออกไซด์ลงไป ลวดตัวนำภายในเสี่ยงต่อการเสียหายได้ง่าย การจ่ายกระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับแบบแรก แต่สำหรับการใช้งาน หากเป็นฮีตเตอร์สีดำ จะเหมาะกับงานอบสี อบเซรามิก เป็นต้น ส่วนฮีตเตอร์สีขาว จะเหมาะกับการใช้งานอบอาหารและยา และการทำความสะอาดที่เกี่ยวกับงานอบ เป็นต้น
การประยุกต์ใช้งานการให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรด
การประยุกต์ใช้งานการให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรด จะต้องพิจารณาถึงลักษณะของงานเป็นกรณีๆ ไป โดยมีปัจจัยหลักที่ต้องพิจารณาคือ ประเภทของวัสดุผลิตภัณฑ์ ขนาดของผลิตภัณฑ์ และช่วงความยาวคลื่นที่ใช้งาน โดยมีตัวอย่างลักษณะการใช้งานที่หลากหลาย ได้แก่ การอบสี การอบผลิตภัณฑ์แป้ง การเคลือบภาชนะในการทำอาหาร การเคลือบสาร PVC บนผนัง การอบแห้งผลิตภัณฑ์กระจกนิรภัย การอบหนัง การอบแห้งกระดาษ การอบสีและแลคเกอร์ การบัดกรี การทำให้หดตัวของโลหะ การเผากระเบื้อง เป็นต้น
- ประเภทของวัสดุผลิตภัณฑ์
ชนิดของวัสดุ และลักษณะของพื้นผิวจะมีการดูดซับรังสีอินฟราเรดที่ต่างกัน ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
- ขนาดของผลิตภัณฑ์
ขนาด (ความหนาแน่น) ของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ระยะเวลาการทำความความร้อนก็จะต่างกันด้วย - ช่วงความยาวคลื่น
คุณสมบัติของรังสีอินฟราเรดจะแตกต่างกันตามช่วงความยาวคลื่น โดยคลื่นอินฟราเรดที่มีความยาวคลื่นสั้น จะมีประสิทธิภาพในการทะลุทะลวงผ่านพื้นผิวหรือเนื้อของผลิตภัณฑ์ได้ลึกและใช้ระยะเวลาในการให้ความร้อนสั้นกว่า ในขณะที่คลื่นอินฟราเรดที่มีความยาวคลื่นยาวจะทะลุผ่านเข้าเนื้อผลิตภัณฑ์ได้น้อยกว่าและใช้ระยะเวลาในการให้ความร้อนนานกว่า ดังนั้นการให้ความร้อนโดยใช้รังสีอินฟราเรดคลื่นยาวจะเหมาะกับการให้ความร้อนเฉพาะบริเวณพื้นผิวของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การอบสี
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์