จุดเด่น
- โครงเลื่อย BERG ใช้ร่วมกับใบเลื่อยตัดเหล็กทั่วไป
- berg โครงเลื่อย ชุบ มีสีเหลืองและสีส้ม น้ำหนักดี
- ด้ามจับถนัดมือ
รายละเอียด
- มาพร้อมใบเลื่อยคุณภาพดี ยี่ห้อ เบิร์ก สีเหลือง Super High Carbon ขนาด 18ฟัน มี มอก.
- เหมาะสำหรับใบเลื่อยยาว 12 นิ้ว ( 300 มม. )
- BERG โครงเลื่อย ชุปสีเหลืองและสีส้ม ใช้ได้กับใบเลื่อยขนาด 1/2 นิ้ว ทั่วไป
- ราคาย่อมเยา เหมาะสำหรับมืออาชีพ
คุณสมบัติ
ชื่อสินค้า | ขนาดบรรจุ | ขนาด | น้ำหนัก |
โครงเลื่อยชุบสีเหลือง | แพ็ค 1 อัน | 13 x 48 x 4 ซม. | 670 กรัม |
กล่อง 12 อัน | 13 x 48 x 6 ซม. | 6,240 กรัม | |
โครงเลื่อยชุบสีส้ม | แพ็ค 1 อัน | 13 x 48 x 4 ซม. | 670 กรัม |
กล่อง 12 อัน | 13 x 48 x 6 ซม. | 6,240 กรัม |
การประกอบใบเลื่อย
การใช้เลื่อยมือ มีความจำเป็นจะต้องทราบถึงวิธีการใส่ใบเลื่อย เข้ากับโครงเลื่อยอย่างถูกต้อง เพราะขนาดของฟันเลื่อย จะต้องเหมาะสมกับวัสดุงาน เมื่อนำใบเลื่อยมาใส่กับโครงเลื่อยแล้วต้องขันให้ตึงพอดี และขนาดความยาวของใบเลื่อย ก็ควรต้องปรับให้พอดีกับโครงเลื่อยเช่นเดียวกัน
การใส่ใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยควรปฏิบัติดังนี้
1.เลือกใบเลื่อยให้เหมาะสมกับวัสดุงาน ที่ต้องการตัด
2.ใส่ใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อย ให้รูทั้งสองใส่เข้าขอเกี่ยวทั้งสองด้าน และสังเกตให้ฟันของเลื่อยชี้ไปด้านหน้า
3.ปรับใบเลื่อยให้ตึงด้วยน๊อตหางปลา โดยหมุนบิดไปกระทั่งใบเลื่อยตึงพอดี
การปฏิบัติงานเลื่อย
การปฏิบัติงานเลื่อยเพื่อตัดชิ้นงาน ให้มีรูปร่างและขนาดตามความต้องการนั้น ต้องมีเทคนิควิธีการ ควรต้องศึกษาขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1.ก่อนลงมือเลื่อยงาน จะต้องทำการร่างแบบหรือขีดหมายแนวเลื่อย
2.จับยึดชิ้นงานด้วยปากกาจับชิ้นงาน โดยให้แนวที่จะเลื่อยอยู่ในแนวดิ่ง และใกล้กับปากของปากกามากที่สุด ถ้าชิ้นงานเป็นแผ่นบางๆ ควรใช้แผ่นไม้ประกบชิ้นงานก่อนทำการเลื่อย
3.ใช้ตะไบสามเหลี่ยมตะไบเส้นแนวเลื่อย เพื่อบากคลองเลื่อยให้เป็นร่อง เป็นการบังคับไม่ให้เลื่อยลื่นไถลออกจากเส้นร่างแบบ
4.ออกแรงเบาๆเมื่อเริ่มเคลื่อนใบเลื่อยไปข้างหน้า และตั้งมุมเลื่อยไปข้างหน้ามุมยกขึ้นประมาณ 10 องศา กับแนวระดับ
5.ใช้ความเร็วในการเลื่อยประมาณ 30-40 ครั้ง/นาที และไม่ต้องออกแรงกดขณะดึงเลื่อยกลับ
6.เมื่อชิ้นงานใกล้จะขาดจากกัน ให้ลดแรงกดและความเร็วในการเลื่อยลง
7.เมื่อเลิกการใช้งานเลื่อย ให้คลายน๊อตหางปลาปรับใบเลื่อยให้หย่อน
การใช้งานและการบำรุงรักษา
- เมื่อเลื่อยชิ้นงานถึงตรงปลายควรลดแรงกดลง เพื่อไม่ให้ใบเลื่อยหัก
- ขณะดึงโครงเลื่อยถอยหลัง ไม่ต้องออกแรงกดและไม่ต้องยกเลื่อยขึ้น
- ควรใช้คมตัดให้ฟันทุกฟันได้ทำงานตลอดใบเลื่อย
- ใช้ใบเลื่อยให้ถูกต้องกับชนิดของงาน
- ถ้าเลื่อยวัสดุแข็งควรเลื่อยโดยใช้ช่วงชักช้าๆ
- ปรับความตึงของใบเลื่อยให้เหมาะสม จะทำให้อายุงานของใบเลื่อยยาวขึ้น
- ควรพักการเลื่อยบ้างเพื่อระบายความร้อนออกไป
- จับชิ้นงานให้ครองเลื่อยอยู่ใกล้ปากกา ถ้าไม่เช่นนั้นชิ้นงานจะสั่น
- ควรเก็บเลื่อยแยกออกจากเครื่องมือชนิดอื่นๆ
เลื่อย (SAW) เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับงานช่างในบ้าน ใช้ตัดหรือซอยชิ้นงานให้ได้ขนาดตามต้องการ ปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายชนิด ดังนั้นการเลือกซื้อเลื่อยให้เหมาะสมกับงาน จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ในทีนี้ขอกล่าวถึงเฉพาะ เลื่อยที่นิยมใช้งานกันทั่วไปนะคะ
1. เลื่อยลันดา (Hand Saw)
- เราจะเห็นเลื่อยชนิดนี้บ่อยที่สุด เป็นเลื่อยที่มีมือจับตอนโคน มีขนาด 22 นิ้ว และ 24 นิ้ว ใช้สำหรับงานตัดไม้ ตัดขวางเนื้อไม้ เพื่อให้เกิดรอยตัดที่เรียบ หรือตัดตามแนวยาวของเนื้อไม้ ใบเลื่อยทำมาจากใบเหล็กสปริงแผ่นบางปลายเรียว โดยมีความยาวของใบเลื่อยให้เลือกใช้งานตั้งแต่ 14 – 28 นิ้ว ตามขนาดของหน้างาน
2. เลื่อยลอ (Dovetail Saw)
- เลื่อยลอ เป็นเลื่อยที่ทำด้วยเหล็กแบนบางแต่แข็ง มีลักษณะคล้ายเลื่อยสันแข็ง ต่างกันที่ด้ามจับซึ่งเป็นด้ามยาว เลื่อยลอมีหน้าที่ บากปากไม้เพื่อทำเดือยเข้าไม้แบบต่างๆ และงานไม้ที่ต้องการความปราณีตเป็นพิเศษ ฟันเลื่อยมีทั้งชนิดหยาบและละเอียด ใบเลื่อยกว้าง 2.5 นิ้ว ความยาว 8 นิ้ว , 10 นิ้ว และ 12 นิ้ว
3. เลื่อยฉลุ (Coping Saw)
- เลื่อยฉลุ นิยมใช้ทำงานประดิษฐ์ของนักเรียน ใช้กับงานไม้ เหมาะสำหรับงานตัดโค้ง ทำลวดลาย เวลาใช้งานต้องขึงใบเลื่อยกับด้าม และคันเลื่อยให้ตึง ใบเลื่อยมีขนาดค่อนข้างเล็กมาก เหมือนเส้นลวด มีความอ่อนตัว เหมาะกับชิ้นงานที่มีขนาดไม่ใหญ่ ไม่หนา มากนัก
4. เลื่อยตัดเหล็ก (Hack Saw)
- เลื่อยตัดเหล็ก เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดเหล็ก มีลักษณะคล้ายเลื่อยฉลุ แต่คันเลื่อยโค้งไม่มาก การใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ตัดโลหะทั่วไป อาทิ ตะปู น๊อต สกรู เหล็กฉาก หรือ ท่อพีวีซี ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแถบยาว ปลายใบเลื่อยทั้ง 2 ข้าง ติดกับปลายและโคน คันเลื่อย ขนาดยาวตามมาตรฐาน 12 นิ้ว เหมาะสำหรับที่มีพื้นที่จำกัด สามารถเปลี่ยนใบเลื่อยได้
5. เลื่อยหางหนู (Walboard Saw)
- เลื่อยหางหนู หรือ เลื่อยฉลุฝ้า ใช้เลื่อยชิ้นงานเป็นแนวโค้ง หรือวงกลมและลวดลายต่างๆ ใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกสามารถใช้เจาะฝ้าหรือผนังยิปซั่มได้ ใบเลื่อยมีขนาดเล็ก โคนใหญ่มีมือจับ ปลายใบเลื่อยเรียว แหลม เล็ก สามารถถอดเปลี่ยนใบเลื่อยได้ นอกจากนี้ยังประยุกต์เป็นเครื่องมือตัดแต่งกิ่งไม้ที่เลื่อยขนาดใหญ่เข้าไม่ถึงได้อีกด้วย
6. เลื่อยคันธนู (Bow Saw)
- เลื่อยคันธนู เป็นเลื่อยที่มีลักษณะคล้ายคันธนู เหมาะสำหรับใช้เลื่อยตัดกิ่งไม้ ทั้งไม้สดและไม้แห้ง หรือตัดต้นไม้เป็นท่อนๆเพื่อการเคลื่อนย้ายสำหรับงานก่อสร้าง มีให้เลือกใช้หลายขนาด ตั้งแต่ 12 นิ้ว , 21 นิ้ว , 24 นิ้ว และ 30 นิ้ว
7. เลื่อยโค้งตัดกิ่งไม้ (Pruning Saw)
- เลื่อยโค้งตัดกิ่งไม้ ใช้ตัดแต่งกิ่งไม้ ตัดก่อไผ่ ฯลฯ ด้วยลักษณะความโค้งของคมเลื่อยและฟันเลื่อย จึงทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์