THE SUN ลวดเชื่อมสแตนเลส รุ่น E309L-16 สำหรับงานเชื่อมเหล็กต่างชนิด เป็นลวดเชื่อมธูป หรือลวดเชื่อมแบบหุ้มฟลักซ์ ใช้กับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าทั่วๆไป เชื่อมนิ่ม ไร้ตามด ไร้สนิม
THE SUN ลวดเชื่อมสแตนเลส รุ่น E309L-16 เป็นลวดเชื่อมชนิดไลม์-ไตตาเนีย สามารถป้องกันการแตกร้าวได้ดีเยี่ยม เคาะสแลกได้ง่าย เชื่อมนิ่ม เกร็ดแนวเชื่อมสวยงาม นอกจากนั้นรอยเชื่อมที่ได้ยังมีความต้านทานการกัดกร่อน ลวดเชื่อมสแตนเลสมาในกล่องบรรจุที่ได้มาตรฐาน มีให้เลือกใช้งานถึง 3 ขนาด 2.0 มม. , 2.6 มม. และ 3.2 มม. ทุกขนาดบรรจุกล่องละ 1 กก. มั่นใจได้ในคุณภาพของลวดเชื่อมทุกเส้น ที่อยู่ภายใต้แบรนด์ THE SUN
จุดเด่น
- THE SUN ลวดเชื่อมสแตนเลส E309L-16 เชื่อมนิ่ม ไร้ตามด ไร้สนิม
- ป้องกันการแตกร้าวได้ดีเยี่ยม
- สะเก็ดไฟน้อย สแลกหลุดง่าย
รายละเอียด
- เป็นลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ชนิดไลม์-ไตตาเนีย
- เหมาะสำหรับการเชื่อมเหล็กต่างชนิด เช่น เหล็กกล้าสแตนเลส กับ เหล็กกล้าคาร์บอน
- แนวเชื่อมสามารถต้านทานความร้อน ต้านทานการกัดกร่อน
- ป้องกันการเกิดสนิม สะเก็ดไฟน้อย ไม่มีรูพรุน ตามด
ข้อแนะนำ
- เลือกกระแสไฟเชื่อมที่เหมาะสมกับขนาดลวดที่ใช้
- ควรอบลวดเชื่อมก่อนใช้งานที่อุณหภูมิ 300 องศา เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
- ไม่ควรใช้กระแสไฟเชื่อม สูงหรือต่ำ จากที่ระบุ
ส่วนผสมทางเคมีโดยทั่วไปของเนื้อโลหะเชื่อม (%)
C | Si | Mn | P | S | Ni | Cr | Mo |
0.04 | 0.09 | 0.50-2.50 | 0.04 | 0.03 | 12.0-14.0 | 22.0-25.0 | 0.75 |
คุณสมบัติทางกลโดยทั่วไปในเนื้อโลหะเชื่อม
TS (MPa) | EI (%) |
520 | 25 |
ขนาดที่จำหน่าย และ ไฟฟ้าเชื่อมที่แนะนำ (AC หรือ DC-EP)
ขนาดลวด (มม.) | ความยาว (มม.) | กระแสไฟเชื่อม (แอมป์) | |
F , H , HF | V & OH | ||
2.0 มม. | 300 | 30-55 | 20-50 |
2.6 มม. | 300 | 50-85 | 45-80 |
3.2 มม. | 350 | 80-120 | 70-110 |
ตารางการเลือกใช้งานเชื่อม ด้วยลวดเชื่อมสแตนเลสเดอะซัน มีดังนี้
ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์ สแตนเลส เดอะซัน | 308L-16 | 316L-16 | 309L-16 |
ใช้เชื่อมเหล็กสแตนเลส | 304/304L 301,302,305,CF-3,CF-8 | 316/316L | 304L 309L,409,CG-12 และเหล็กต่างชนิดกัน |
ธาตุประกอบที่สำคัญ | 18%โครเมียม 8% นิเกิล | 18%โครเมียม 12% นิเกิล 2%โมลิดินัม | 24%โครเมียม 12% นิเกิล |
การใช้งาน(ย่อ) | เหมาะสำหรับงานสแตนเลส ในสภาวะแวดล้อมการกัดกร่อนปกติ เช่น งานมีชื้นแฉะบ้างและแห้งในบางครั้ง | เหมาะสำหรับงานสแตนเลส ในสภาวะแวดล้อมการกัดกร่อนสูง เช่น งานอยู่ไกล้ทะเล งานที่มีสารเคมี อุณหภูมิสูง | เหมาะสำหรับงานสแตนเลส ในสภาวะแวดล้อมการกัดกร่อนสูง และ การเชื่อมเหล็กต่างชนิดกัน อาทิ เชื่อมรองพื้นด้วย 309L-16 และทับหน้าด้วยลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง |
คุณลักษณะเด่นการใช้งานลวดเชื่อมสแนตเลส เดอะซัน | ลวดเชื่อม THE SUN 308L-16 เป็นลวดเชื่อมชนิดไลม์- ไตตาเนีย ให้รอยเชื่อมที่มีโครงสร้างเป็นออสเตนนิติกที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ และมีโครงสร้างเฟอร์ไรท์ในปริมาณที่เหมาะสม จึงทำให้มีความสามารถป้องกันการแตกร้าวได้ดีเยี่ยม ความต้านทานการกัดกร่อนตามขอบเกรน (Intergranular corrosion) ก็ดีกว่า นอกจากนั้นรอยเชื่อมที่ได้ยังมีความต้านทานการกัดกร่อน และคุณสมบัติทางกลที่ดี(ความแข็งแรง) ในสภาพหลังเชื่อม (As welded) เหมาะสำหรับงานเชื่อมเฟอร์นิเจอร์ รั้วสแตนเลส เกรด 302, 304, 304L, 304LN เชื่อมได้นิ่ม เคาะสแลกออกง่าย ไม่เป็นตามด เกล็ดแนวเชื่อมสวยงาม | ลวดเชื่อม THE SUN 316L-16 เป็นลวดเชื่อมชนิดไลม์- ไตตาเนีย ให้รอยเชื่อมที่มีโครงสร้างเป็นออสเตนนิติกที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ และมีโครงสร้างเฟอร์ไรท์ในปริมาณที่เหมาะสม จึงทำให้มีความสามารถป้องกันการแตกร้าวได้ดีเยี่ยม ด้วยปริมาณคาร์บอนที่ต่ำกว่าความต้านทานการกัดกร่อนตามขอบเกรน (Intergranular corrosion) ก็ดีกว่า นอกจากนั้นรอยเชื่อมที่ได้ยังมีความต้านทานการกัดกร่อน และคุณสมบัติทางกลที่ดี ในสภาพหลังเชื่อม (As welded) เชื่อมได้นิ่ม เคาะสแลกออกง่าย ไม่เป็นตามด เกล็ดแนวเชื่อมสวยงาม | ลวดเชื่อม THE SUN 309L-16 เป็นลวดเชื่อมชนิดไลม์- ไตตาเนีย ให้รอยเชื่อมที่มีโครงสร้างเป็นออสเตนนิติกที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ และมีโครงสร้างเฟอร์ไรท์ในปริมาณที่มากกว่า จึงทำให้มีความสามารถป้องกันการแตกร้าวร้อน (hot cracking)หลังเชื่อมได้ดีเยี่ยม ความต้านทานการกัดกร่อนตามขอบเกรน (Intergranular corrosion) ก็ดีกว่า นอกจากนั้นรอยเชื่อมที่ได้ยังมีความต้านทานการกัดกร่อน และคุณสมบัติทางกลที่ดี ในสภาพหลังเชื่อม (As welded) เชื่อมได้นิ่ม เคาะสแลกออกง่าย ไม่เป็นตามด เกล็ดแนวเชื่อมสวยงาม
|
ขนาดลวดเชื่อม/ยาว มม. | 2.0/300 2.6/300 3.2/350 | 2.0/300 2.6/300 3.2/350 | 2.0/300 2.6/300 3.2/350 |
บรรจุ 1กก ทุกขนาด /หลอดสี | 1กก./สีเหลือง | 1กก./สีน้ำเงิน | 1กก./สีเขียว |
คุณสมบัติ
ขนาด | ขนาดบรรจุ | กว้าง x ยาว x สูง | น้ำหนัก |
2.0 มม. | 1 กก. | 4 x 36 x 4 ซม. | 1,000 กรัม |
2.6 มม. | 1 กก. | 4 x 36 x 4 ซม. | 1,000 กรัม |
3.2 มม. | 1 กก. | 4 x 36 x 4 ซม. | 1,000 กรัม |
สินค้าภายในกล่อง
1 x ลวดเชื่อมสแตนเลส รุ่น E309L-16 ขนาด 2.0 มม. (กล่อง 1 กก.) |
1 x ลวดเชื่อมสแตนเลส รุ่น E309L-16 ขนาด 2.6 มม. (กล่อง 1 กก.) |
1 x ลวดเชื่อมสแตนเลส รุ่น E309L-16 ขนาด 3.2 มม. (กล่อง 1 กก.) |
สแตนเลสคืออะไร?
“สแตนเลส” หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ “เหล็กกล้าไร้สนิม” เป็น ศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกเหล็กใน กลุ่มที่มีความต้าน ทานการกัดกร่อนสูง สแตนเลสเป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กและคาร์บอน ซึ่งส่วนประกอบจะมีปริมาณคาร์บอนต่ำ มีโครเมียม เป็นส่วนผสมหลัก ประมาณ 10.5 % หรือมากกว่าทำให้เกิดการสร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ (chromium oxide film : CrO2 หรือเรียกว่า passive film)ที่มองไม่เห็น เกาะติดแน่นอยู่ที่ผิวหน้าทำให้เหล็กกล้า มีความต้านทานการกัดกร่อน ฟิลม์ปกป้อง นี้จะมีความบางเทียบเท่ากับวางกระดาษ 1 แผ่นบนตึกสูง 20 ชั้น ถ้าฟิล์มที่ผิวหน้านั้น ถูกทำลายไม่ว่าจากแรงกล สารเคมี หรือออกซิเจนที่มีอยู่ในบรรยากาศ แม้จำนวนน้อยนิดจะเข้าทำปฏิกิริยากับโครเมียม สร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ทดแทนขึ้น ใหม่ด้วยตัวมันเองสแตนเลส สามารถปรับปรุงคุณสมบัติในการต้านทานการกัดกร่อนและสมบัติอื่นๆที่ต้องการ ให้สูงขึ้นได้โดยการเพิ่ม ส่วนผสมของโครเมียมและเพิ่ม ธาตุอื่นๆเช่นโมลิบดิบนัม นิกเกิลและไนโตรเจนเข้าไป สแตนเลส มีอยู่มากกว่า 60 ชนิดด้วยคุณสมบัติที่ไม่เหมือนใคร ยากต่อการขึ้นสนิมเมื่อเทียบกับโลหะหรือวัสดุชนิดอื่นๆ ค่าบำรุงรักษาต่ำ ง่ายต่อการเชื่อมและการขึ้นรูป ระยะเวลาการใช้งานคุ้มค่ากับราคา และสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ทั้งหมด จึงทำให้สแตนเลส เป็นโลหะที่ทรงคุณค่า คุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่ไร้ขีด จำกัด
การแบ่งประเภทเหล็กสแตนเลสผสมสูง
- เหล็กสแตนเลสผสมสูงแบ่งออกได้เป็นกลุ่มดังต่อไปนี้โดยยึดตามโครงสร้างเป็นหลักเหล็กสแตนเลสกลุ่มเฟอริติก
- เหล็กสแตนเลสกลุ่มมาร์เทนซิติก
- เหล็กสแตนเลสกลุ่มออสเตนนิติก
- เหล็กสแตนเลสกลุ่มเฟอริติกออสเตนนิติก (เหล็กกล้าดูเพล็กซ์)
เกร็ดความรู้เรื่องงานเชื่อม
สำหรับงานเชื่อมนั้นหมายถึง การเชื่อมโลหะ 2 ชิ้นให้ติดกัน เป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับต่อวัสดุ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโลหะและเทอร์โมพลาสติก โดยให้รวมตัวเข้าด้วยกัน ปกติใช้วิธีทำให้ชิ้นงานหลอมละลาย โดยการให้ความร้อนแก่โลหะ จนหลอมละลายติดเป็นเนื้อเดียวกัน หรือโดยการเติมลวดเชื่อม ใช้เป็นตัวประสานกันก็ได้ เมื่อเย็นตัวรอยต่อจะมีความแข็งแรง มีแหล่งพลังงานหลายอย่าง สำหรับนำมาใช้ในการเชื่อม เช่น การใช้เปลวไฟแก๊สอ็อกซิเจน, การอาร์คโดยใช้กระแสไฟฟ้า, ลำแสงเลเซอร์, การใช้อิเล็คตรอนบีม, การเสียดสี, การใช้คลื่นเสียง เป็นต้น ในอุตสาหกรรมที่มีการเชื่อม จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่น การเชื่อมในพื้นที่โล่ง, พื้นที่อับอากาศ, การเชื่อมใต้น้ำ, การเชื่อมในพื้นที่อันตราย เช่น ถึงเก็บน้ำมันขนาดใหญ่, ภายในโรงงานผลิตสารเคมีและวัตถุไวไฟ การเชื่อมมีอันตรายเกิดขึ้นได้ง่าย จึงควรมีความระมัดระวัง เพื่อป้องกันอันตราย เช่น เกิดจากกระแสไฟฟ้า, ความร้อน, สะเก็ดไฟ, ควันเชื่อม, แก๊สพิษ, รังสีอาร์ค, ชิ้นงานร้อน, ฝุ่นละออง เป็นต้น
กรรมวิธีในการเชื่อมโลหะ ที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมีดังต่อไปนี้
- การเชื่อมแก๊ส (Gas Welding) เป็นการเชื่อม ซึ่งจัดอยู่ในประเภทการเชื่อมหลอมเหลววิธีหนึ่ง แหล่งความร้อน ที่ใช้เกิดมาจากการเผาไหม้ ระหว่างแก๊สอะเซทีลีนซึ่งเป็นแก๊สเชื้อเพลิงและแก๊สออกซิเจน อุณหภูมิของการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ จะให้ความร้อนสูงถึง 3,200 องศาเซลเซียส และจะไม่มีเขม่าหรือควันหลงเหลืออยู่เลย
- การเชื่อมไฟฟ้า (Arc Welding) การเชื่อมไฟฟ้าหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การเชื่อมโลหะด้วยวิธีการเชื่อมอาร์ค ความร้อนที่ใช้ในการเชื่อม เกิดจากประกายอาร์ค ระหว่างชิ้นงานและลวดเชื่อม ซึ่งทำการหลอมละลายลวดเชื่อม ทำหน้าที่ป้อนเนื้อโลหะให้แก่แนวเชื่อม
- การเชื่อมอัด (Press Welding) การเชื่อมอัดหมายถึง การประสานโลหะ 2 ชิ้นให้ติดกัน โดยให้ความร้อนกับชิ้นงาน ในบริเวณที่จะทำการเชื่อม จากนั้นใช้แรงอัดส่วนที่หลอมละลาย จนกระทั่งชิ้นงานติดกันเป็นจุด หรือเกิดแนวความร้อนที่ใช้ได้ จากความต้านทานไฟฟ้าเช่น การเชื่อมจุด (Spot Welding)
- การเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding) เป็นวิธีการเชื่อมโลหะ โดยใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์ค ระหว่างลวดทังสเตนกับชิ้นงาน โดยมีแก๊สเฉื่อยปกคลุมบริเวณเชื่อมและบ่อหลอมละลาย เพื่อไม่ให้บรรยากาศภายนอก เข้ามาทำปฏิกิริยาตรงบริเวณที่เชื่อม
- การเชื่อม MIG (Metal Inert Gas Welding) การเชื่อม MIG เป็นระบบการเชื่อมที่ได้รับความร้อนจากการอาร์ค ระหว่างลวดเชื่อมกับชิ้นงาน ลวดเชื่อมที่ใช้จะเป็นลวดเชื่อมเปลือย ที่ส่งป้อนอย่างต่อเนื่องไปยังบริเวณอาร์ค และทำหน้าที่เป็นโลหะเติมลงไปยังบ่อหลอมละลาย บริเวณบ่อหลอมละลายจะถูกปกคลุมไปด้วยแก๊สเฉื่อย เพื่อไม่ให้เกิดการรวมตัวกับอากาศ
- การเชื่อมใต้ฟลักซ์ (Submerged Arc Welding) การเชื่อมใต้ฟลักซ์ เป็นกระบวนการเชื่อมไฟฟ้า ที่ได้รับความร้อนจากการอาร์ค ระหว่างลวดเชื่อมเปลือยกับชิ้นงานเชื่อม โดยจะมีฟลักซ์ชนิดเม็ด (Granular Flux) ปกคลุมบริเวณอาร์คและฟลักซ์ ส่วนที่อยู่ใกล้กับเนื้อเชื่อม จะหลอมละลายปกคลุมเนื้อเชื่อม เพื่อป้องกันอากาศภายนอกทำปฏิกิริยากับแนวเชื่อม ส่วนฟลักซ์ที่อยู่ห่างจากเนื้อเชื่อมจะไม่หลอมละลาย และไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์