THE SUN ชุดเชื่อมแก๊ส ด้ามจับ/ก้านเชื่อม ทองเหลือง ทนทาน คุณภาพดี มีตัวปรับความแรงของเปลวไฟ มีความทนทาน สินค้ามีคุณภาพ ปรับเปลี่ยนนมหนูได้อย่างสะดวก
THE SUN ชุดเชื่อมแก๊ส ด้ามจับทองเหลือง ทนทาน ใช้แก๊ส LPG (แอลพีจี) , AC (อะเซทีลีน) เหมาะสำหรับงานเชื่อมโลหะทั่วไป เพื่อความเหมาะสมในการเชื่อม มีตัวปรับความแรงของเปลวไฟ ปรับเปลี่ยนนมหนูได้อย่างสะดวก น้ำหนักเบา
จุดเด่น
- THE SUN ชุดเชื่อม ด้ามจับทองเหลือง ทนทาน
- แข็งแรง ทนทาน ไม่เป็นสนิม
- น้ำหนักเบา
รายละเอียด
ชุดเชื่อมแก๊ส AC
- THE SUN ชุดเชื่อม AC สามารถปรับส่วนผสมระหว่างใช้แก๊ส AC (อะเซทีลีน) และ Oxygen (ออกซิเจน) ในการใช้งาน
- นมหนู 5 เบอร์ 25 , 50 , 75 , 100 , 150
- มีตัวปรับความแรงของเปลวไฟและควบคุมอัตราการไหลของแก๊สได้อย่างแม่นยำ
- ทำให้สามารถควบคุมเปลวไฟในการเชื่อมได้เป็นอย่างดี
- เหมาะสำหรับงานเชื่อมโลหะทั่วไป เชื่อมแป๊ปทองแดง เชื่อมท่อแอร์ ทองเหลือง ทองแดง และงานตัดเหล็กบาง
- ปรับเปลี่ยนนมหนูได้อย่างสะดวก
ชุดเชื่อมแก๊ส LPG
- THE SUN ชุดเชื่อม LPG สามารถปรับส่วนผสมระหว่างใช้ได้กับแก๊ส LPG (แอลพีจี) และ Oxygen (ออกซิเจน) ในการใช้งาน
- นมหนู 5 เบอร์ 1,2,3,4,5
- มีตัวปรับความแรงของเปลวไฟและควบคุมอัตราการไหลของแก๊สได้อย่างแม่นยำ
- ทำให้สามารถควบคุมเปลวไฟในการเชื่อมได้เป็นอย่างดี
- เหมาะสำหรับงานเชื่อมโลหะทั่วไป เชื่อมแป๊ปทองแดง เชื่อมท่อแอร์ ทองเหลือง ทองแดง และงานตัดเหล็กบาง
- ปรับเปลี่ยนนมหนูได้อย่างสะดวก
การบำรุงรักษาและข้อควรระวัง
- การอุดตันตรงปาก Nozzle ที่เกิดจากสะเก็ดไฟ จะทำให้เกิดไฟย้อนได้ ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัย ให้ใส่อุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนที่ด้ามตัดแก๊ส เกจลม เกจแก๊สด้วย
- ควรตรวจสอบอุปกรณ์ ก่อนใช้งานทุกครั้ง ให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน
- เมื่อใช้งานเสร็จควรเก็บหรือทำความสะอาดให้เรียบร้อย
- ห้ามใช้กับร่างกาย
- เก็บให้พ้นจากมือเด็ก
คำเตือน
- นมหนูที่ไม่มีคุณภาพ จะละลายง่าย เกิดการอุดตันขึ้น ทำให้เกิดไฟย้อนและระเบิดที่หัวตัดและด้ามตัดได้
คุณสมบัติ
ประเภทแก๊ส | กว้าง x ยาว x สูง | น้ำหนัก |
LPG | 7 x 40 x 5 ซม. | 540 กรัม |
AC | 7 x 40 x 5 ซม. | 540 กรัม |
สินค้าภายในกล่อง
ชุดเชื่อม AC 1 x ด้ามจับ AC 5 x นมหนู 5 เบอร์ 25 , 50 , 75 , 100 , 150 |
ชุดเชื่อม LPG 1 x ด้ามจับเชื่อม LPG 5 x นมหนู 5 เบอร์ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 |
สะดวกช็อปหลากหลายช่องทาง คลิกเลยที่นี่ !!!
ข้อมูลเพิ่มเติม
“การเชื่อม” (Welding) เป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับต่อวัสดุ ส่วนใหญ่เป็นโลหะและพลาสติก โดยให้รวมตัวเข้าด้วยกัน ปกติใช้วิธีทำให้ชิ้นงานหลอมละลาย และการเพิ่มเนื้อโลหะเติมลงในแอ่งหลอมละลายของวัสดุที่หลอมเหลว เมื่อเย็นตัวรอยต่อจะมีความแข็งแรง บางครั้งใช้แรงดันร่วมกับความร้อน หรืออย่างเดียว เพื่อให้เกิดรอยเชื่อม ซึ่งตรงข้ามกับการบัดกรีอ่อน และการบัดกรีแข็ง ซึ่งไม่มีการหลอมละลายของชิ้นงาน มีแหล่งพลังงานหลายอย่างสำหรับนำมาใช้ในการเชื่อม เช่น การใช้เปลวไฟแก๊สอ็อกซิเจน, การอาร์คโดยใช้กระแสไฟฟ้า, ลำแสงเลเซอร์, การใช้อิเล็คตรอนบีม, การเสียดสี, การใช้คลื่นเสียง เป็นต้น ในอุตสาหกรรมมีการเชื่อมในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่นการเชื่อมในพื้นที่โล่ง, พื้นที่อับอากาศ, การเชื่อมใต้น้ำ, การเชื่อมในพื้นที่อันตราย เช่น ถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่, ภายในโรงงานผลิตสารเคมี และวัตถุไวไฟ การเชื่อมมีอันตรายเกิดขึ้นได้ง่าย จึงควรมีความระมัดระวังเพื่อป้องกันอันตราย เช่น เกิดจากกระแสไฟฟ้า, ความร้อน, สะเก็ดไฟ, ควันเชื่อม, แก๊สพิษ, รังสีอาร์ค, ชิ้นงานร้อน, ฝุ่นละออง ในยุคเริ่มแรกจนถึงศตวรรษที่ 19 มีการใช้งานเฉพาะการเชื่อมทุบ (Forge welding) เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อโลหะ เช่นการทำดาบในสมัยโบราณ วิธีนี้การเชื่อมที่ได้มีความแข็งแรงสูง และโครงสร้างของเหล็กมีคุณภาพอยู่ในระดับสูง แต่มีความล่าช้าในการนำมาใช้งานในเชิงอุตสาหกรรม หลังจากนั้นได้มีการพัฒนามาสู่การเชื่อมอาร์ค และการเชื่อมโดยใช้เปลวไฟแก๊สอ็อกซิเจน และหลังจากนั้นมีการ เชื่อมแบบความต้านทานตามมา
เทคโนโลยีการเชื่อมได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 20 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 เทคโนโลยีการเชื่อมแบบใหม่ ได้มีการเร่งพัฒนาเพื่อรองรับต่อการสู้รบในช่วงเวลานั้น เพื่อทดแทนการต่อโลหะแบบเดิม เช่นการใช้หมุดย้ำซึ่งมีความล่าช้าอย่างมาก กระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ (SMAW) เป็นกระบวนการหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงนั้นและกระทั่งปัจจุบัน ยังคงเป็นกรรมวิธีที่ใช้งานกันมากที่สุดในประเทศไทย และประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย
การเชื่อมแก๊ส
กระบวนการเชื่อมแก๊ส ที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดคือ การเชื่อมออกซิเจน (Oxygen welding) หรือ Oxyacetylene welding ถือว่าเป็นกระบวนการเชื่อมที่เก่าแก่ และมีความยืดหยุ่นมากที่สุด แต่ในปัจจุบัน สำหรับงานระดับอุตสาหกรรมแล้ว กระบวนการเชื่อมออกซิเจนได้รับความนิยมน้อยลง เว้นแต่การเชื่อมท่อ และการเชื่อมเพื่อซ่อมบำรุงที่ยังมีการใช้อยู่
เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการเชื่อมออกซิเจน มักมีราคาไม่แพง และไม่ซับซ้อน เมื่อเทียบกับกระบวนการเชื่อมอื่นๆ ซึ่งโดยทั่วไปกระบวนการนี้จะใช้การเผาไหม้ระหว่าง อะซิเตลีน และออกซิเจน เพื่อสร้างเปลวเพลิงที่มีอุณหภูมิสุงได้ถึง 3100 องศา แต่เนื่องจากเปลวเพลิงที่เกิดขึ้นนี้มีหนาแน่นต่อพื้นที่ต่ำกว่าการเชื่อมอาร์ค ทำให้การเย็นตัวของแนวเชื่อมช้ากว่า นำไปสู่การเกิดสารตกค้างมากกว่า ส่งผลให้เกิด การบิดเสียรูป
กระบวนการเชื่อมแก๊สนี้ สามารถประยุกต์แยกย่อย ตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้
- การเชื่อมด้วยแก๊ส โดยใช้เปลวนิวทรอล ทำโดยปรับแต่งปริมาณแก๊สเชื้อเพลิง และออกซิเจนให้เกิดเปลวกลางและเปลวในทับซ้อนกัน
- การตัดด้วยแก๊ส โดยใช้เปลวออกซิไดซิ่ง ทำโดยปรับแต่งปริมาณแก๊สเชื้อเพลิง และออกซิเจนโดยปรับแต่งให้เกิดเปลวนอก และเปลวใน สำหรับเปลวในจะมีความสว่างและแหลม
- การแล่นประสาน โดยเปลวคาร์บูไรซิ่ง ทำโดยปรับแต่งปริมาณแก๊สเชื้อเพลิง และออกซิเจนโดยปรับแต่งให้มีเปลวนอก เปลวกลาง และเปลวใน ให้เปลวกลางมีความยาวกว่าเปลวในประมาณ 0.5 – 1 เท่าตัว
- การบัดกรี
เป็นคนแรกที่รีวิวสินค้านี้กันนะ “ชุดเชื่อมแก๊ส เดอะซัน LPG/AC รูปทรงญี่ปุ่นยอดนิยม ด้ามจับ/ก้านเชื่อมทองเหลืองอย่างดี ทนทาน มั่นใจปลอดภัย งานดี วาล์วปรับควบคุมง่ายด้วยปลายนิ้ว”
You must be logged in to post a review.