BERG ปืนยิงกาวก้านตรง สีส้ม
BERG ปืนยิงกาวก้านตรง สีส้ม วัสดุทำจากเหล็กชั้นดี ยิงกาวได้ต่อเนื่อง ด้ามจับถนัดมือ วัสดุคุณภาพดี มีความแข็งแรงทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน ยิงกาวได้ต่อเนื่อง คุ้มค่า คุ้มราคา คุณภาพที่ช่างเลือกใช้งาน ใช้งานง่ายน้ำหนักเบาเหมาะสำหรับมืออาชีพ มีอายุการใช้งานยาวนาน สนิมไม่เกาะง่าย เช็ดทำความสะอาดง่าย เป็นอุปกรณ์ร่วมใช้กับหลอดกาวอะคริลิค / ซิลิโคน ทั่วไป ไกลปืนหนาพิเศษไม่หักง่าย เป็นสินค้าคุณภาพเหมาะสำหรับมืออาชีพ
มีร่องนิ้วทำให้เวลาใช้งานกระชับมือ นอกจากนั้นแกนเหล็กยังชุบอย่างดี โครงหนา แข็งแรงไม่งอ ซึ่งทำให้ยิงกาวได้ต่อเนื่องแม้กาวหนืด แนวสวยงาม ข้อดีของแกนตรง ก็คือใช้งานง่ายเวลาดันเข้าดึงออกของแกนทำได้ง่าย ขนาดยาวพิเศษ 10.5 นิ้ว ซึ่งยาวมากกว่าปืนยิงกาวทั่วไป ซึ่งส่วนมากจะยาวเพียง 9 นิ้ว ทำให้สามารถใส่หลอดกาวได้ทุกชนิด
จุดเด่น
- ด้ามจับถนัดมือ ไม่เมื่อยเวลาใช้งาน
- มีความแข็งแรงทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน
- BERG ปืนยิงกาวสีส้ม ยิงกาวได้ต่อเนื่อง
- เป็นสินค้าคุณภาพเหมาะสำหรับมืออาชีพ
รายละเอียด
- เป็นอุปกรณ์ ที่ใช้ร่วมกับหลอดกาว ใช้ซีลรอยต่อ รอยแยก ทั้งภายในและภายนอก
- ทำจากเหล็กชั้นดี เหล็กหนา แข็งแรง ทนทาน
- เป็นอุปกรณ์เหมาะสำหรับใช้งาน ร่วมกับกาวซิลิโคน / อะคริลิค ได้หลากหลายแบบ
- ใช้สำหรับ ยิงเคมีภัณฑ์แบบหลอดทุกชนิด
- ความยาว 10.5 นิ้ว สำหรับมืออาชีพ
- ใช้งานง่ายน้ำหนักเบา ด้ามจับถนัดมือ
- ปืนยิงกาวซิลิโคน ผลิตจากเหล็กที่มีคุณภาพดี สนิมไม่เกาะง่าย ทำความสะอาดง่าย
- ผ่านกระบวนการ ผลิตด้วยเครื่องจักร ที่ได้มาตรฐาน
- แนวกาวจากการยิงสวยงาม มีอายุการใช้งานยาวนาน
- คันโยกแบบบีบสปริง
- สวมใส่กับหลอดกาวได้ทั่วไป
- บรรจุในกล่องกระดาษสวยงาม
ข้อแนะนำในการใช้งาน
- เตรียมวัสดุหรือพื้นผิว ที่ต้องการยาแนวให้แห้ง สะอาด ปราศจากไขมัน คราบสบู่ น้ำมัน ฝุ่น และไม่มีอะคริลิคเก่าติดอยู่
- ควรใช้เทปกาวกระดาษ ย่นปิดตามแนวใช้งานเป็นเส้นขนาน
- เพื่อให้มีความเรียบสม่ำเสมอ ของผิวกาว หลังจากฉีดกาวแล้วใช้นิ้วมือแตะน้ำ เพื่อปาดกาวและตกแต่งให้สวยงาม
- ให้ดึงเทปกาวออกทันที เมื่อยาแนวเสร็จ
- ควรป้องกันกาวจากความชื้น เช่น น้ำฝน
- หลีกเลี่ยงการใช้งานในบริเวณที่มีน้ำขัง
- หากใช้งานไม่หมด ควรปิดจุกหลอดกาว ด้วยการพันสก๊อตเทปใส
ลักษณะการใช้งาน
- สามารถใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าเป็นการเชื่อมต่อระหว่างกระจก การอุดรอยรั่ว และการติดตั้งอุปกรณ์ปะปา เช่น ก๊อกน้ำ อ่างน้ำ เป็นต้น
ขั้นตอนการใช้ปืนยิงกาว
- ทำความสะอาดบริเวณรอยต่อ และทำให้แห้งอยู่เสมอ
- ใส่หลอดกาวเข้าปืนยิงกาวและ แน่ใจว่าสวมได้พอดีทั้งหัว-ท้ายของปืนยิงกาว
- เปิดรูหลอดกาวให้เล็กไว้ก่อน แต่มีขนาดพอดีกว่ารอยต่อ รอยแยกนั้นๆไม่มากไปและไม่น้อยไป สามารถตัดตรงหรือเฉียงก็ได้ตามถนัด
- ถือปืนยิงกาวเอียงเล็กน้อย และแนบสนิทรอยต่อแล้วฉีดแนวอย่างช้าๆ สัมพันธ์กับปืนยิงกาวให้ออกมา อย่าให้ล้นแนว
- ใช้นิ้วปาดกาวเบาๆเพื่อให้แนวเรียบดูสวยงาม และทำความสะอาดด้วยผ้าเปียกหมาด รอบๆ บริเวณรอยต่อและใช้ผ้าแห้งเช็ดอีกทีเมื่อรอยต่อแห้งแล้ว
การบำรุงรักษาและข้อควรระวัง
- ห้ามยิงกาวบน พรม เฟอร์นิเจอร์ และเสื้อผ้า
- สามารถทำความสะอาดด้วยน้ำ และสบู่
- การใช้หลอดใหม่ ให้ทำการตัดที่ปลายซิลิโคนโดยทำมุม 45 องศา กะประมาณ 1/4 ของปลายหลอด
- ในการใช้งานหลอดเก่า ให้ตัดสลับจากปลายที่เป็น 45 องศา ตัดเป็น 90 องศา ตรงส่วนปลาย
- การหยุดยิงซิลิโคน ให้กดแท๊บ และดึงก้านกดออกมา
- ควรเลือกปืนยิงกาว ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
- ควรเก็บให้พ้นจากมือเด็ก และที่ที่มีเปลวไฟ
- โปรดใช้งานอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกัน การแตกหักของสินค้า
คุณสมบัติ
ขนาดบรรจุ | กว้าง x ยาว x สูง | น้ำหนัก |
แพ็ค 2 อัน | 20 x 42 x 4.5 ซม. | 612 กรัม |
แพ็ค 6 อัน | 33 x 155 x 6.0 ซม. | 900 กรัม |
บ้านรั่วซึมไม่ใช่ปัญหาที่จัดการยากเกินความสามารถ เพียงแค่เราเข้าใจสาเหตุและวิธีแก้ไขก็รับมือกับปัญหาได้อย่างสบายๆ วันนี้จึงขอพาคนรักบ้านมาทำความรู้จักกับจุดรั่วซึมที่พบบ่อยภายในบ้าน พร้อมแนะนำวิธีแก้ปัญหาแต่ละจุดแบบเข้าใจง่าย แม้ไม่ใช่ช่างมืออาชีพก็ทำเองได้
1. ดาดฟ้า: การรั่วซึมมักเกิดจาก 2 จุดหลักๆ ได้แก่ บริเวณรอยต่อดาดฟ้าชนผนัง และบริเวณพื้นดาดฟ้าที่มีรอยแตกร้าว เมื่อฝนตก น้ำฝนก็จะรั่วซึมผ่านทางรอยต่อหรือรอยแตกลงสู่เพดานและส่วนอื่นๆ ของบ้าน
วิธีการแก้ปัญหา เริ่มจากขึ้นไปสำรวจหารอยแตกให้พบ ซ่อมแซมรอยแตกให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงทากันซึมทับ แต่หากพบว่าเป็นเพียงรอยแตกเล็กๆ หรือรอยแตกลายงา ก็อาจทากันซึมลงบนดาดฟ้าได้เลย เพราะปัจจุบันวัสดุกันซึมบางชนิดถูกพัฒนาขึ้นให้มีคุณสมบัติปกปิดรอยแตกได้ในตัวแล้ว เช่น ซีเมนต์กันซึมที่ช่วยปกปิดรอยแตกพร้อมช่วยกันซึมในหนึ่งเดียว
2. ผนัง: จุดที่พบปัญหาบ่อย ได้แก่ รอยต่อระหว่างผนังกับขอบวงกบ รอยแตกขอบมุมวงกบ และรอยแตกร้าวบนผนัง
วิธีการแก้ปัญหา สำหรับรอยต่อระหว่างผนังกับขอบวงกบ และรอยแตกขอบมุมวงกบ อุดซ่อมด้วยซีลแลนท์ชนิดโพลียูรีเทน อย่าง จระเข้ โพลี-ยู ซีล ได้เลย แต่สำหรับรอยแตกร้าวบนผนัง เราต้องซ่อมแซมรอยแตกก่อนด้วยวัสดุที่เหมาะสม
3. พื้น: ปัญหาพื้นรั่วซึม แบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
3.1 พื้นชั้นบน ปัญหาที่พบบ่อย คือ ห้องน้ำชั้นบนรั่ว ทำให้มีน้ำซึมลงมาชั้นล่าง วิธีการซ่อมแซมทำได้ 2 แบบ คือ
– รื้อกระเบื้องเดิม: เอากระเบื้องเดิมที่มีปัญหาออกให้หมด ทำความสะอาดพื้นผิว ทากันซึม แล้วลงมือปูกระเบื้องใหม่
– หากกระเบื้องเดิมไม่มีการหลุดล่อน: สามารถทาซีเมนต์กันซึมลงบนกระเบื้องเดิม เพื่อแก้ปัญหาน้ำรั่วซึมพร้อมเปลี่ยนผิวกระเบื้องให้เป็นผิวปูน ก่อนจะปูกระเบื้องใหม่ทับลงไป ซึ่งวิธีนี้ง่ายกว่า ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่าวิธีแรก แต่มี
ข้อจำกัด คือ การปูกระเบื้องทับกระเบื้องเดิมจะทำให้พื้นหนาขึ้น หากพื้นห้องน้ำเดิมมีความสูงพอๆ กับขอบล่างของประตูอยู่แล้ว ก็ไม่ควรใช้วิธีนี้ เพราะอาจทำให้พื้นหนาจนเปิดปิดประตูไม่ได้
3.2 พื้นชั้นล่าง กรณีที่มีปัญหาน้ำซึมจากใต้ดินขึ้นมา จะไม่สามารถแก้ได้ด้วยการทาซีเมนต์กันซึมชนิดทั่วไป เนื่องจากซีเมนต์กันซึมทั่วไปจะกันน้ำได้เฉพาะฝั่งที่ทาเท่านั้น ขอแนะนำให้แก้ปัญหาด้วยซีเมนต์กันซึมชนิดตกผลึก ซึ่งมีคุณสมบัติแทรกซึมลึกเข้าไปในเนื้อคอนกรีต ป้องกันน้ำได้ 2 ฝั่ง ทั้งฝั่งที่ทาและฝั่งตรงข้าม จึงช่วยบล็อคน้ำจากใต้ดินอย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์