THE SUN กันไฟย้อน ต่อพ่วงทั้งชุดตัด-เชื่อมแก๊ส/เกจความดันแก๊ส ปลอดภัยมั่นใจ 2 ชั้น เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงป้องกันเปลวไฟและแก๊สไหลย้อนกลับ เหมาะสำหรับ งานเชื่อม-ตัดด้วยแก๊ส เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน บรรจุ 1 อันต่อแพ็ค แยกขาย
THE SUN กันไฟย้อน ต่อพ่วงชุดตัด-เชื่อมแก๊ส/เกจความดัน ควบคุมการไหลแก๊สไปในทางเดียวกัน ใช้เพื่อทำหน้าที่หยุดไฟย้อนกลับ และแก๊สย้อนกลับ จากการเชื่อม-ตัดโลหะด้วยแก๊ส ไม่ว่าจะเป็น ออกซิเจน-อะเซทีลีน หรือ ออกซิเจน-แอลพีจี ไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์เชื่อม-ตัด และ ผู้ปฏิบัติงาน ถือเป็นอุปกรณ์เซฟตี้ตัวหนึ่ง ที่ผู้ใช้งานเชื่อม-ตัดโลหะด้วยแก๊ส ควรมีติดไว้ขณะทำงาน เมื่อเกิดปรากฎการณ์ไฟย้อนกลับจะทำให้เปลวไฟดับก่อนที่จะเข้าไปถึงสายแก๊ส และลามไปถึงถังแก๊สอาจถึงขั้นระเบิดทำความเสียหายมากมายตามมา
จุดเด่น
- กันไฟย้อนควบคุมการไหลแก๊สไปในทางเดียวกัน และเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อความปลอดภัย ตามพรบ. ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ทำหน้าที่หยุดไฟย้อนกลับและแก๊สย้อนกลับ จากการเชื่อม-ตัดโลหะด้วยแก๊ส
- ผลิตจากทองเหลืองเกรดดี ที่มีความแข็งแรงสูง ทนทาน ใช้งานนาน คุ้มค่า คุ้มราคา
รายละเอียด
- ควบคุมการไหลแก๊สไปในทางเดียวกัน
- ใช้ได้ทั้ง แก๊สอ๊อกซิเย่น (OXY) และ แก๊สเชื้อเพลิง (LPG/AC)
- เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงป้องกันเปลวไฟและแก๊สไหลย้อนกลับ
- เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ที่ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์เชื่อม-ตัด และผู้ปฏิบัติงาน
- เหมาะสำหรับงานเชื่อม-ตัดด้วยแก๊ส
ประโยชน์
- ทำหน้าที่หยุดการไหลย้อนกลับของแก๊สอ๊อกซิเย่น (OXY) และ แก๊สเชื้อเพลิง (LPG/AC)
- ในงานเชื่อม-ตัดโลหะด้วยแก๊สอ๊อกซิเย่น (OXY) และ แก๊สเชื้อเพลิง (LPG/AC) ไม่ให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์เชื่อม-ตัด และผู้ปฏิบัติงาน
คำเตือน
- โปรดสังเกตทิศทางของลูกศรก่อนการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ และควรได้รับการติดตั้งอย่างถูกต้อง และ ดูแลตามมาตรฐานสากล AS-4603 AS-4839
- หากเกิดไฟย้อนกลับจนเกิดเสียงระเบิด ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับตัวใหม่ทันที ห้ามใช้ต่อโดยเด็ดขาด
- แนะนำให้ตรวจสอบรอยรั่วด้วยนำ้สบู่ก่อนการใช้งาน หรือเปลี่ยน อย่างน้อยทุก 12 เดือนโดยผู้ชำนาญการด้านการเชื่อมเพื่อความปลอดภัยสูงสุด
คุณสมบัติ
รายการ | กว้าง x ยาว x สูง (ซม.) | น้ำหนัก (กรัม) |
กันไฟย้อน ต่อพ่วงชุดตัด-เชื่อมแก๊ส เดอะซัน แก๊สออกซิเจน (OXY) M14x1.5 | 2.5 x 8.5 X 2.5 ซม. | 150 กรัม |
กันไฟย้อน ต่อพ่วงชุดตัด-เชื่อมแก๊ส เดอะซัน แก๊สเชื้อเพลิง (LPG/AC) M14x1.5 | 2.5 x 8.5 X 2.5 ซม. | 150 กรัม |
กันไฟย้อน ต่อพ่วงเกจความดัน เดอะซัน แก๊สออกซิเจน (OXY) M16x1.5 | 2.2 x 8.3 X 2.2 ซม. | 135 กรัม |
กันไฟย้อน ต่อพ่วงเกจความดัน เดอะซัน แก๊สเชื้อเพลิง (LPG/AC) M16x1.5 | 2.2 x 8.3 X 2.2 ซม. | 135 กรัม |
หมายเหตุ: กันไฟย้อนต่อพ่วงได้กับ ชุดตัด – ชุดเชื่อม และ เกจความดัน แบรนด์ เดอะซัน และ เบิร์ก ได้อย่างดี
สินค้าภายในกล่อง
1 x กันไฟย้อน ต่อพ่วงชุดตัด-เชื่อมแก๊ส เดอะซัน แก๊สอ๊อกซิเย่น (OXY) (1 อัน/แพ็ค) M14 x 1.5 |
1 x กันไฟย้อน ต่อพ่วงชุดตัด-เชื่อมแก๊ส เดอะซัน แก๊สเชื้อเพลิง (LPG/AC) (1 อัน/แพ็ค) M14 x 1.5 |
1 x กันไฟย้อน ต่อพ่วงเกจความดัน เดอะซัน แก๊สอ๊อกซิเย่น (OXY) (1 อัน/แพ็ค) M16 x 1.5 |
1 x กันไฟย้อน ต่อพ่วงเกจความดัน เดอะซัน แก๊สเชื้อเพลิง (LPG/AC) (1 อัน/แพ็ค) M16 x 1.5 |
สะดวกช็อปหลากหลายช่องทาง คลิกเลยที่นี่ !!!
ข้อมูลเพิ่มเติม
กันไฟย้อน หรือ อุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ (Flashback Arrestor) นั้นใช้เพื่อทำหน้าที่หยุดไฟย้อนกลับ และแก๊สย้อนกลับ จากการเชื่อม-ตัดโลหะด้วยแก๊ส ไม่ว่าจะเป็น ออกซิเย่น-อะเซทีลีน หรือ ออกซิเย่น-แอลพีจี ไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์เชื่อม-ตัด และ ผู้ปฏิบัติงาน ถือเป็นอุปกรณ์เซฟตี้ตัวหนึ่ง ที่ผู้ใช้งานเชื่อม-ตัดโลหะด้วยแก๊ส ควรมีติดไว้ในชุดเชื่อม-ตัดสนาม ด้านในของอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ นั้นจะมีหินรูพรุนที่ช่วยในการดูดซับเปลวไฟย้อนกลับ เมื่อเกิดปรากฎการณ์ไฟย้อนกลับจะทำให้เปลวไฟดับก่อนที่จะเข้าไปถึงสาย
ตำแหน่างที่ติดอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อน ในชุดเชื่อม ชุดตัด มี 4 ตำแหน่ง
- ทางออกของเกจความดันแก๊สออกซิเย่น
- ทางออกของเกจความดันแก๊สเชื้อเพลิง แอลพีจี หรือ อะเซทิลีน
- ด้ามเชื่อม-ด้ามตัดแก๊สทางด้านที่ต่อกับสายออกซิเย่น
- ด้ามเชื่อม-ด้ามตัดแก๊สทางด้านที่ต่อกับสายแก๊สเชื้อเพลิง
ทำไมต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟย้อน
เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจาก Flashback ที่เกิดจากการเชื่อม การตัดโลหะด้วยแก๊ส ที่อาจทำให้เกิดการระเบิดได้ หลักในการทำงานคือ
เมื่อเปลวไฟของไฟย้อนกลับไหลเข้าภายในตัวป้องกันไปย้อน เปลวไฟจะถูกดูดซับโดยกรองไฟที่ทำจากสแตนเลสที่มีรูพรุนเพื่อให้สามารถดูดซับเปลวไฟได้ดี ดังนั้นประกายไฟย้อนกลับจึงไม่สามารถผ่านเข้าไปในท่อก๊าชได้
ส่วนประกอบของอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ มีโครงสร้างหลักที่สำคัญ 3 ประการ
- Non-Retum Value เป็นลิ้นควบคุมการไหลให้ไปในทิศทางเดียว
- Flame Arrestor เป็นตัวดูดซับ หรือ ดับไฟที่ย้อนกลับ
- Thermal Cut-off Value เป็นตัวจับความร้อน โดยลิ้นจะปิดการไหลโดยทันที เมื่อมีความร้อนเกิดขึ้น
สาเหตุที่ทำให้แรงดันแก๊สลดลงอย่างฉับพลัน
- มีเศษวัสดุจากการเชื่อม-ตัด ไปปิดช่องรูที่หัวจ่ายแก๊ส หรือ นมหนู ทำให้เกิดการอุดตัน
- แรงดันอาจลดลงจากการพับงอของสายส่งแก๊ส หรือ ถูกรถทับ
- ประกายไฟจากที่อื่นหล่นโดนสายส่งแก๊สที่รั่วอยู่ทำให้สายเสียหาย
- เมื่อออกซิเย่นหมดถังขณะใช้งาน ก่อนที่จะปิดวาล์วที่ด้ามแก๊สอะเซทิลีน หรือ แอลพีจี จะไหลย้อนเข้ามาที่สายและเกจออกซิเย่น
- เมื่อปิดวาล์วหัวถังแล้ว ให้เปิดวาล์วที่ด้ามตัดเพื่อไล่ออกซิเย่นและแก๊สเชื้อเพลิงออก แก๊สเชื้อเพลิงที่มีแรงดันต่ำกว่าจะไหลออกก่อน จึงทำให้ออกซิเย่นสามารถไหลย้อนไปยังสายและเกจของแก๊สเชื้อเพลิงได้
- เมื่อเปิดวาล์วทั้งออกซิเย่นและแก๊สเชื้อเพลิงพร้อมกัน แล้วทำการจุดไฟเพื่อใช้งาน (ปรับแรงดันทั้ง 2 ให้สมดุล) ถ้าออกซิเย่นมีอัตราการไหลมากกว่าอัตราที่นมหนูจะปล่อยได้ ออกซิเย่นจะไหลย้อนกลับที่สายและเกจของแก๊สเชื้อเพลิง
ซึ่งเหตุการณ์ที่ยกตัวอย่างมานี้เกิดขึ้นได้ง่ายมาก เพราะฉะนั้น การทำงานกับอุปกรณ์เชื่อมตัดโลหะด้วยแก๊ส จึงต้องมีการป้องกันอันตรายจากการเกิดไฟย้อน (Flashback) ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าว เรียกกว่า อุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ (Flashback Arrestor) ซึ่งมีการติดตั้งอยู่ 2 ลักษณะคือ
- ติดตั้งที่ด้ามจับของหัวตัด หรือ เชื่อมแก๊ส
- ติดตั้งที่เกจความดันด้านสายส่งแก๊ส
การเกิดไฟย้อน Flashback เกิดขึ้นได้อย่างไร
เกิดขึ้นได้จากการเสียสมดุลระหว่างแรงดันแก๊ส ที่พุ่งออกมากับเปลวไฟที่เผาไหม้แก๊สในขณะทำงาน การเสียสมดุล มี 2 กรณี คือ
- แรงดันแก๊สมากกว่า ถ้าปรับแก๊สได้มีแรงดันสูงๆเปลวไฟจะถูกผลักออกจากหัวตัดเชื่อม กรณีนี้อาจไม่เกิดอันตรายแต่เปลวไฟก็จะดับ
- แรงดันแก๊สลดลงอย่างเฉียบพลัน ถ้าแรงดันแก๊สลดลงอย่างฉับพลัน จนเปลวไฟย้อนเข้าภายในระบบ ซึ่งผลของมันอาจจะทำให้เกิดเสียงดังเหมือนลูกโป่งแตก หรือถ้าเปลวไฟย้อนกลับเข้าไปถึงด้ามตัด สายเชื่อม หรือ ถังแก๊ส ก็อาจเกิดอันตรายถึงขั้นเสียอวัยวะ บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตได้ โดยสาเหตุ อาจเกิดจากการมีเศษวัสดุติดช่องหัวจ่ายแก๊ส,แรงดันลดลงจากสายแก๊ส รั่ว พับ หัก งอ,อ๊อกซิเจนหมดขณะใช้งาน
ข้อกำหนด ความปลอดภัยในการทำงานกับถังแก๊สที่มีแรงดันสูง (Pressure Cylinder)
ในงานก่อสร้าง หรือในโรงงานอุตสาหกรรมเราจะพบเห็นถังบรรจุแก๊สที่มีแรงดันสูงเช่นในรูปนี้มากมาย และเราคงเคยได้ยินข่าวอุบัติเหตุของการระเบิดของถังแก๊สเหล่านี้และมีผู้เสียชีวิตมากมายอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หากเราหมั่นตรวจสอบ และปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยในการทำงานกับถังบรรจุแก๊สแรงดันสูงเหล่านี้อย่างถูกต้องแล้ว โอกาสที่จะเกิดอันตรายจะลดน้อยลงมาก จนเกือบไม่มีเลยก็ว่าได้ ด้วยเหตุนี้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย(จป.) จึงมีข้อกำหนดให้ถังบรรจุแก๊สที่มีแรงดัน เช่น ถังออกซิเจน ถังอะซิทิลีน ถังไนโตรเจน ฯลฯ ต้องมีสภาพดี มีความปลอดภัยในการใช้งาน เป็นความรับผิดชอบของผู้ควบคุมงาน พนักงานและผู้รับเหมาทุกคนต้องตรวจสอบถังบรรจุแก๊สก่อนนำเข้ามาใช้งานและต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและวิธีปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการเก็บรักษาและการใช้ถังบรรจุแก๊สที่มีแรงดัน ดังต่อไปนี้
- ถังบรรจุแก๊สที่ใช้ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือที่เราเรียกกันว่า มอก. และมีสัญลักษณ์สีตามมาตรฐาน เพื่อบอกชนิดของแก๊สที่บรรจุภายในถัง และต้องติดฉลาก หรือมีรายละเอียดของแก๊สที่บรรจุในถัง
- การเก็บ และขนส่งถังแก๊สฯ ต้องดำเนินการในลักษณะที่ถังอยู่ในแนวตั้งตรง โดยมีฝาครอบท่ออยู่ประจำที่ตลอดเวลา มีการยึดหรือผูกมัดถังแก๊สกับราวตั้ง หรือกับตัวรถลากให้มั่นคง หรือวางบนชั้นวาง (Racks) แล้วผูกมัดด้วยโซ่ เพื่อป้องกันไม่ให้ถังแก๊สล้มลงกระแทกพื้น และห้ามกลิ้งถังบรรจุแก๊สขณะเคลื่อนย้ายโดยเด็ดขาด เนื่องจากที่บริเวณวาล์วอาจกระแทก แล้วเกิดการระเบิดที่วาล์วได้
- ห้ามยกถังแก๊สโดยใช้ลวดสลิง เชือก โซ่ หรือใช้แม่เหล็กดูด ถ้ามีความจำเป็นต้องยกหรือส่งถังแก๊สให้ใช้แคร่ ที่เหมาะสมเท่านั้น และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานก่อนเท่านั้น
- ถังแก๊สออกซิเจนต้องเก็บรักษาแยกจากถังแก๊สอะเซทิลีน หรือแก๊สอื่นๆ ด้วยระยะทางอย่างน้อย 6.5 เมตร ควรจัดถังแก๊สวางในที่ที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี และป้องกันไม่ให้สัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ทั้งนี้ต้องเตือนสติตัวเองเสมอว่า ห้ามวางถังแก๊สในลักษณะแนวนอนโดยเด็ดขาด
- หลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานในแต่ละช่วงหรือแต่ละวัน จะต้องนำถังแก๊สจากพื้นที่ปฏิบัติงานไปเก็บรักษาไว้ในสถานที่เก็บที่ปลอดภัย ห้ามวางขวางหรือติดกับทางเข้า-ออก
- จะต้องปิดวาล์วถังแก๊สในช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้แก๊สนั้นและจะต้องปิดฝาครอบวาล์วถังแก๊สตลอดเวลา
- ห้ามนำถังแก๊สไปไว้ในท่อ หรือสถานที่อับอากาศ ยกเว้นกรณีที่นำไปใช้ในงานในถังที่มีขนาดใหญ่ และมีการระบายอากาศที่ดี
- ห้ามตั้งถังแก๊สไว้ในบริเวณที่อาจมีประกายไฟ หรือลูกไฟกระเด็นมากระทบอุปกรณ์ปรับความดันแก๊ส (Regulator Assembly) หรือวาล์วของถังแก๊ส (Cylinders Valves) และห้ามไม่ให้ถังแก๊สออกซิเจนสัมผัสกับสารไฮโดรคาร์บอนโดยเด็ดขาด อุปกรณ์ปรับความดันของท่อแก๊สต้องมีมาตรวัดที่อ่านค่าได้ชัดเจน และมีสภาพที่ปลอดภัยในการใช้งาน
- สายที่ต่อจากถังแก๊สนั้น ต้องมีสภาพดี ไม่มีรูรั่ว หรือแตกหัก และการต่อเข้ากับถังแก๊สนั้นจะต้องให้สนิทแน่นโดยใช้เข็มขัดรัด (Clamps) ห้ามใช้ลวดผูก
- ตรวจหารอยรั่วโดยใช้น้ำสบู่พรมลงบนที่บริเวณตัวปรับแรงดัน (regulator) ข้อต่อต่างๆว่าไม่รั่วทุกครั้งเมื่อเริ่มใช้งาน แล้วจึงให้ใช้งานได้
- ห้ามใช้น้ำมัน หรือสารหล่อลื่นทุกชนิดกับตัวปรับแรงดัน (regulator) โดยเด็ดขาด
- จะต้องติดตั้งตัวกันไฟย้อนกลับ (Flash back arrestor) ต่อพ่วงกับชุดตัด-เชื่อมแก๊ส และ ต่อพ่วงกับเกจปรับความดันที่ถังแก๊สและถังลมตลอดเวลา
- ถังลม ถังแก๊สที่ไม่ติดตัวกันไฟย้อนกลับ จะถูกนำออกนอกที่ทำงานทันที และผู้ที่ใช้งานจะถูกทำโทษทันที
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์