BERG โครงเลื่อยจิ๋ว รุ่น BG-517B
BERG โครงเลื่อยจิ๋ว เลื่อยตัดเหล็ก รุ่น BG-517B สารพัดตัด จับถนัดมือ ตัดไม้ เหล็ก ท่อ PVC รางสายไฟ น้ำหนักเบา พกพาสะดวก เหมาะกับชาว DIY
จุดเด่น
- โครงเลื่อยจิ๋ว BERG รุ่น BG-517B สารพัดจะตัด ใช้สะดวก
- คล่องตัว เข้าซอกมุมได้ดี
- จับถนัดมือตกไม่แตก
- ทน คุ้มค่า คุ้มราคา
รายละเอียด
- เป็นโครงเลื่อยขนาดเล็กพร้อมใบเลื่อยตัดเหล็ก
- ใช้สำหรับตัดงานทั่วไป เช่น ท่อน้ำพีวีซี , ท่อร้อยสายไฟ , รางสายไฟพลาสติก , ไม้ , ไฟเบอร์ซีเมนต์ , ตะปู
- โครงเลื่อยจิ๋ว BERG เหมาะสำหรับงานตัดที่มีพื้นที่จำกัดสามารถเลื่อนปรับความยาว ใบเลื่อยได้
- ตัวโครงทำด้วยพลาสติกแข็งแรง จับถนัดมือ
- โครงเลื่อยจิ๋ว BERG สามารถตัดชิ้นงานสูง 35 มม. ส่วนปลายใบเลื่อยที่ยื่นเหนือโครงเลื่อยสามารถเลื่อยตามซอกเล็กๆได้
- ใบเลื่อย Super Hi-Carbon Berg คม,ทน,มี มอก. TIS 290 – 2521
- ด้ามทำจากพลาสติกอย่างดีทนตกไม่แตกจับถนัดมือ
คุณสมบัติ
ขนาดบรรจุ | กว้าง x ยาว x สูง | น้ำหนัก |
แพ็ค 2 อัน | 9 x 37 x 3 ซม. | 230 กรัม |
แพ็ค 10 อัน | 8 x 37 x 15 ซม. | 930 กรัม |
ขนาดบรรจุ
1 x โครงเลื่อยจิ๋ว รุ่น BG-517B (แพ็ค 2 อัน) |
1 x โครงเลื่อยจิ๋ว รุ่น BG-517B (แพ็ค 10 อัน) |
การประกอบใบเลื่อย
การใช้โครงเลื่อย BERG มีความจำเป็นจะต้องทราบถึงวิธีการใส่ใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยอย่างถูกต้อง เพราะขนาดของฟันเลื่อยจะต้องเหมาะสมกับวัสดุงาน เมื่อนำใบเลื่อยมาใส่กับโครงเลื่อยแล้วต้องขันให้ตึงพอดีและขนาดความยาวของใบเลื่อย ก็ควรต้องปรับให้พอดีกับครงเลื่อยเช่นเดียวกัน
การใส่ใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยควรปฏิบัติดังนี้
1.เลือกใบเลื่อยให้เหมาะสมกับวัสดุงานที่ต้องการตัด
2.ใส่ใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อย ให้รูทั้งสองใส่เข้าขอเกี่ยวทั้งสองและสังเกตให้ฟันของเลื่อยชี้ไปด้านหน้า
3.ปรับใบเลื่อยให้ตึงด้วยน๊อตหางปลา โดยหมุนบิดไปกระทั่งใบเลื่อยตึงพอดี
การปฏิบัติงานเลื่อย
การปฏิบัติงานเลื่อยเพื่อตัดชิ้นงานให้มีรูปร่างและขนาดตามความต้องการนั้น ต้องมีเทคนิควิธีการ ควรต้องศึกษาขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1.ก่อนลงมือเลื่อยงานจะต้องทำการร่างแบบหรือขีดหมายแนวเลื่อย
2.จับยึดชิ้นงานด้วยปากกาจับชิ้นงาน โดยให้แนวที่จะเลื่อยอยู่ในแนวดิ่งและใกล้กับปากของปากกามากที่สุด ถ้าชิ้นงานเป็นแผ่นบางๆ ควรใช้แผ่นไม้ประกบชิ้นงานก่อนทำการเลื่อย
3.ใช้ตะไบสามเหลี่ยมตะไบเส้นแนวเลื่อย เพื่อบากคลองเลื่อยให้เป็นร่อง เป็นการบังคับไม่ให้เลื่อยลื่นไถลออกจากเส้นร่างแบบ
4.ออกแรงเบาๆเมื่อเริ่มเคลื่อนใบเลื่อยไปข้างหน้า และตั้งมุมเลื่อยไปข้างหน้ามุมยกขึ้นประมาณ 10 องศา กับแนวระดับ
5.ใช้ความเร็วในการเลื่อยประมาณ 30-40 ครั้ง/นาที และไม่ต้องออกแรงกดขณะดึงเลื่อยกลับ
6.เมื่อชิ้นงานใกล้จะขาดจากกัน ให้ลดแรงกดและความเร็วในการเลื่อยลง
7.เมื่อเลิกการใช้งานเลื่อย ให้คลายน๊อตหางปลาปรับใบเลื่อยให้หย่อน
การใช้งานและการบำรุงรักษาโครงเลื่อยจิ๋ว BG-517B
- เมื่อเลื่อยชิ้นงานถึงตรงปลายควรลดแรงกดลง เพื่อไม่ให้ใบเลื่อยหัก
- ขณะดึงโครงเลื่อยถอยหลัง ไม่ต้องออกแรงกดและไม่ต้องยกเลื่อยขึ้น
- ควรใช้คมตัดให้ฟันทุกฟันได้ทำงานตลอดใบเลื่อย
- ใช้ใบเลื่อยให้ถูกต้องกับชนิดของงาน
- ถ้าเลื่อยวัสดุแข็งควรเลื่อยโดยใช้ช่วงชักช้าๆ
- ปรับความตึงของใบเลื่อยให้เหมาะสม จะทำให้อายุงานของใบเลื่อยยาวขึ้น
- ควรพักการเลื่อยบ้างเพื่อระบายความร้อนออกไป
- จับชิ้นงานให้ครองเลื่อยอยู่ใกล้ปากกา ถ้าไม่เช่นนั้นชิ้นงานจะสั่น
- ควรเก็บเลื่อยแยกออกจากเครื่องมือชนิดอื่นๆ
เลื่อย (SAW) เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับงานช่างในบ้าน ใช้ตัดหรือซอยชิ้นงานให้ได้ขนาดตามต้องการ ปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายชนิด ดังนั้นการเลือกซื้อเลื่อยให้เหมาะสมกับงาน จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ในทีนี้ขอกล่าวถึงเฉพาะ เลื่อยที่นิยมใช้งานกันทั่วไปนะคะ
1. เลื่อยลันดา (Hand Saw)
- เราจะเห็นเลื่อยชนิดนี้บ่อยที่สุด เป็นเลื่อยที่มีมือจับตอนโคน มีขนาด 22 นิ้ว และ 24 นิ้ว ใช้สำหรับงานตัดไม้ ตัดขวางเนื้อไม้ เพื่อให้เกิดรอยตัดที่เรียบ หรือตัดตามแนวยาวของเนื้อไม้ ใบเลื่อยทำมาจากใบเหล็กสปริงแผ่นบางปลายเรียว โดยมีความยาวของใบเลื่อยให้เลือกใช้งานตั้งแต่
14 – 28 นิ้ว ตามขนาดของหน้างาน
2. เลื่อยลอ (Dovetail Saw)
- เลื่อยลอ เป็นเลื่อยที่ทำด้วยเหล็กแบนบางแต่แข็งมีลักษณะคล้ายเลื่อยสันแข็ง ต่างกันที่ด้ามจับซึ่งเป็นด้ามยาว เลื่อยลอมีหน้าที่ บากปากไม้เพื่อทำเดือยเข้าไม้แบบต่างๆ และงานไม้ที่ต้องการความปราณีตเป็นพิเศษ ฟันเลื่อยมีทั้งชนิดหยาบและละเอียด ใบเลื่อยกว้าง 2.5 นิ้ว
ความยาว 8 นิ้ว , 10 นิ้ว และ 12 นิ้ว
3. เลื่อยฉลุ (Coping Saw)
- เลื่อยฉลุ นิยมใช้ทำงานประดิษฐ์ของนักเรียน ใช้กับงานไม้ เหมาะสำหรับงานตัดโค้ง ทำลวดลาย เวลาใช้งานต้องขึงใบเลื่อยกับด้ามและคันเลื่อยให้ตึง ใบเลื่อยมีขนาดค่อนข้างเล็กมากเหมือนเส้นลวด มีความอ่อนตัว เหมาะกับชิ้นงานที่มีขนาดไม่ใหญ่ ไม่หนา มากนัก
4. เลื่อยตัดเหล็ก (Hack Saw)
- เลื่อยตัดเหล็ก เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดเหล็ก มีลักษณะคล้ายเลื่อยฉลุ แต่คันเลื่อยโค้งไม่มาก การใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ตัดโลหะทั่วไป อาทิ ตะปู น๊อต สกรู เหล็กฉาก หรือ ท่อพีวีซี ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแถบยาว ปลายใบเลื่อยทั้ง 2 ข้าง ติดกับปลายและโคน คันเลื่อย ขนาดยาวตามมาตรฐาน 12 นิ้ว เหมาะสำหรับที่มีพื้นที่จำกัด สามารถเปลี่ยนใบเลื่อยได้
5. เลื่อยหางหนู (Walboard Saw)
- เลื่อยหางหนู หรือ เลื่อยฉลุฝ้า ใช้เลื่อยชิ้นงานเป็นแนวโค้ง หรือวงกลมและลวดลายต่างๆ ใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกสามารถใช้เจาะฝ้าหรือผนังยิปซั่มได้ ใบเลื่อยมีขนาดเล็ก โคนใหญ่มีมือจับ ปลายใบเลื่อยเรียว แหลม เล็ก สามารถถอดเปลี่ยนใบเลื่อยได้ นอกจากนี้ยังประยุกต์เป็นเครื่องมือตัดแต่งกิ่งไม้ที่เลื่อยขนาดใหญ่เข้าไม่ถึงได้อีกด้วย
6. เลื่อยคันธนู (Bow Saw)
- เลื่อยคันธนู เป็นเลื่อยที่มีลักษณะคล้ายคันธนู เหมาะสำหรับใช้เลื่อยตัดกิ่งไม้ ทั้งไม้สดและไม้แห้ง หรือตัดต้นไม้เป็นท่อนๆเพื่อการเคลื่อนย้ายสำหรับงานก่อสร้าง มีให้เลือกใช้หลายขนาด ตั้งแต่ 12 นิ้ว , 21 นิ้ว , 24 นิ้ว และ 30 นิ้ว
7. เลื่อยโค้งตัดกิ่งไม้ (Pruning Saw)
- เลื่อยโค้งตัดกิ่งไม้ ใช้ตัดแต่งกิ่งไม้ ตัดก่อไผ่ ฯลฯ ด้วยลักษณะความโค้งของคมเลื่อยและฟันเลื่อย จึงทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์