ลวดเชื่อมไฟฟ้า THE SUN รุ่น 33 เชื่อมนิ่ม ควันน้อย สแลกร่อนง่าย เชื่อมได้ดีในทุกท่าเชื่อม รวมท่าเชื่อมหัวเสา (ลาก-ลง) และเชื่อมเหล็กกัลวาไนซ์ได้ดี
เชื่อมเหล็กชุบกัลวาไนซ์
เชื่อมหัวเสา-ลากลง
ยืนหนึ่งลวดเชื่อม “คุณภาพ” 5 ใบรับรองคุณภาพสากล กว่า 30ปีที่ผลิตลวดเชื่อมคุณภาพให้กับช่างเชื่อมทั่วประเทศไทย และต่างประเทศ
ลวดเชื่อมไฟฟ้า THE SUN รุ่น 33 เป็นลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ การเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเ
ลวดเชื่อม THE SUN รุ่น เดอะซัน 33 ใช้สำหรับเชื่อมงานโครงสร้างเหล็กทั่วไป งานเชื่อมเหล็กดัด โครงสร้างเหล็กที่บาง เชื่อมได้ดีทุกท่าเชื่อม ควันน้อย ประหยัดไฟในการเชื่อม ใช้ได้ดีกับตู้เชื่อมขนาดเล็ก สินค้าไทย มาตรฐานส่งออก ที่มืออาชีพชอบใช้ คุ้มค่า คุ้มราคา
จุดเด่น
- ลวดเชื่อม THE SUN 33 เชื่อมนิ่ม การอาร์คสม่ำเสมอ
- เชื่อมได้ดี ในทุกท่าเชื่อม ควันในการเชื่อมน้อย สแลกร่อนง่าย
- ได้รับมาตราฐานสากล ISO 9001:2015 (เยอรมัน),ไทยแลนด์แบรนด์ และ มาตรฐานสากล ลอยด์ (อังกฤษ)
- การันตีการผลิตสินค้า ด้วยมาตราฐานส่งออก และจำหน่ายตลาดต่างประเทศ
ลวดเชื่อมเดอะซัน สินค้าไทยมาตรฐานส่งออก เชื่อมแล้ว สแลกร่อน ไม่ลองไม่ได้แล้ว!!!
รายละเอียด
- ลวดเชื่อมไฟฟ้า THE SUN รุ่น 33 เป็นลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ชนิดไททาเนียม ลวดเชื่อมอาร์คนิ่ม เชื่อมง่าย ทุกท่าเชื่อม
- เหมาะสำหรับการเชื่อมเหล็กแผ่นบาง และ โครงสร้างเหล็กที่บาง อาทิเช่น ประตูเหล็ก โครงหลังคาเหล็ก งานเชื่อมเหล็กดัด งานซ่อมสร้าง งานเหล็กทั่วไป
- ตะเข็บในการเชื่อม เป็นมันวาว ทำให้ ผิวรอยเชื่อมที่ได้ มีความเรียบร้อยสวยงาม แนวการเชื่อมสวย
- เหมาะสำหรับ เครื่องเชื่อม AC และ DC ขนาดเล็ก ใช้กระแสไฟต่ำ
- มีให้เลือกใช้ 3 ขนาด 2.6 มม. , 3.2 มม. และ 4.0 มม.
ลวดเชื่อมเดอะซัน -33 1 ห่อ มี่กี่เส้น?
ความคลาดเคลื่อนเท่ากับ ± 1
ลวดเชื่อม THE SUN-33 สินค้าไทย มาตรฐานส่งออก
ข้อแนะนำในการใช้ลวดเชื่อม THE SUN
- ไม่ควรใช้กระแสไฟเชื่อมสูงกว่าที่แนะนำ หรือกำหนดไว้ที่ข้างกล่องของลวดเชื่อม
- ในการเชื่อมท่าตั้ง-ลาดลง ควรให้ปลายลวดเชื่อม แตะกับแผ่นชิ้นงาน
- ควรอบลวดเชื่อมก่อนการใช้งาน ที่อุณหภูมิ 70 – 100 องศาเซลเซียล เป็นเวลา 30-60 นาที การที่ลวดเชื่อมดูดซับความชื้นมากเกินไป จะทำให้คุณสมบัติในการใช้งานของลวดเชื่อมต่ำลง และอาจทำให้เกิดฟองอากาศขึ้นในรอยเชื่อม
- คำเตือน!!! การเชื่อมเหล็กกัลวาไนซ์ก่อให้เกิดควันพิษจากสังกะสี ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันควัน และมีการถ่ายเทอากาศที่ดีเหมาะสม
คุณสมบัติ
ขนาด | กว้าง x ยาว x สูง | บรรจุ |
2.6 มม. | 21 x 37 x 8 ซม. | 20 กก./ลัง |
3.2 มม. | 17 x 37 x 10 ซม. | 20 กก./ลัง |
4.0 มม. | 17 x 43 x 9 ซม. | 20 กก./ลัง |
2.6 มม. | 4 x 35 x 4 ซม. | 2 กก./กล่อง |
3.2 มม. | 4 x 40 x 7.5 ซม. | 5 กก./กล่อง |
4.0 มม. | 4 x 40 x 7.5 ซม. | 5 กก./กล่อง |
3.2 มม. | 3 x 40.5 x 1 ซม. | 139 กรัม / แพ็ค 4 เส้น |
4.0 มม. | 3 x 40.5 x 1 ซม. | 177 กรัม / แพ็ค 3 เส้น |
5.0 มม. | 3 x 40.5 x 1 ซม. | 267 กรัม / แพ็ค 3 เส้น |
สินค้าภายในกล่อง
1 x ลวดเชื่อม รุ่น เดอะซัน – 33 ขนาด 2.6 มม. (2 กก./กล่อง , 20 กก./ลัง) |
1 x ลวดเชื่อม รุ่น เดอะซัน – 33 ขนาด 3.2 มม. (5 กก./กล่อง , 20 กก./ลัง) |
1 x ลวดเชื่อม รุ่น เดอะซัน – 33 ขนาด 4.0 มม. (5 กก./กล่อง , 20 กก./ลัง) |
1 x ลวดเชื่อม รุ่น เดอะซัน – 33 ขนาด 3.2 มม. (แพ็ค 4 เส้น) |
1 x ลวดเชื่อม รุ่น เดอะซัน – 33 ขนาด 4.0 มม. (แพ็ค 3 เส้น) |
1 x ลวดเชื่อม รุ่น เดอะซัน – 33 ขนาด 5.0 มม. (แพ็ค 3 เส้น) |
สะดวกช็อปหลากหลายช่องทาง คลิกเลยที่นี่ !!!
เกร็ดความรู้เรื่องการเชื่อมไฟฟ้า
การเชื่อมไฟฟ้า คือ การเชื่อมอาร์คประเภทหนึ่งใช้อิเล็กโทรด หรือ ก้านธูปที่หุ้มด้วยฟลักซ์ในการเชื่อมโลหะ
กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการเชื่อม มีทั้งไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และ ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) สร้างอาร์คขึ้น ระหว่างปลายอิเล็กโทรด กับผิวชิ้นงานที่เชื่อม เปลวอาร์คทำให้ผิวชิ้นงาน และ อิเล็กโทรดหลอมเหลวที่ผิวชิ้นงาน เกิดเป็นบ่อหลอม เนื้อวัสดุจากอิเล็กโทรดหลอมลงไปในบ่อหลอม รวมกันเกิดเป็นเนื้อเชื่อม และ แนวเชื่อมฟลักซ์ที่หุ้มอิเล็กโทรดอยู่หลอมเหลว และเปลี่ยนสภาพกลายเป็นแก๊สปกคลุม บางส่วนเกิดเป็นสแลกปกคลุมแนวเชื่อม ซึ่งแก๊สปกคลุมและสแลกนี้ทำหน้าที่ป้องกันบรรยากาศรายรอบไม่ให้เข้าไปปนเปื้อนในเนื้อเชื่อม
เนื่องจากกระบวนการเชื่อมนี้มีความยืดหยุ่น อาศัยอุปกรณ์ และ การปฏิบัติงานที่ไม่ซับซ้อน ทำให้กระบวนการนี้ใช้อย่างแพร่หลายที่สุด เมื่อเทียบกับกระบวนการเชื่อมอื่นๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุง และ ในการก่อสร้างโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ โลหะที่เชื่อมด้วยกระบวนการนี้โดยมากคือกลุ่มงานเหล็กซึ่งรวมถึงสเตเลสด้วย นอกจากนี้โลหะผสม กลุ่ม อะลูมิเนียม นิกเกิล และ ทองแดง ก็ใช้กระบวนการเชื่อมนี้ด้วยเช่นกัน
วิธีการเลือกลวดเชื่อมไฟฟ้า
- พิจารณาดูก่อนว่าชิ้นงานเชื่อมเป็นวัสดุชนิดใดแล้วจึงเลือกลวดเชื่อม
- ศึกษารายละเอียดองค์ประกอบต่างๆของการปฏิบัติงานเชื่อม เช่น การปรับตั้งกระแสไฟเชื่อม การตั้งมุมลวดเชื่อม โดยสามารถศึกษาได้จากรายละเอียดข้างกล่องลวดเชื่อม
- การเลือกขนาดลวดเชื่อมจะต้องเหมาะสมสัมพันธ์กับความหนาของชิ้นงาน โดยขนาดของลวดเชื่อมจะวัดบริเวณแกนลวดที่ไม่มีฟลักซ์หุ้ม
ชนิดของลวดเชื่อมที่ช่างเชื่อมใช้ในการทำงาน แบ่งออกได้เป็นชนิดใหญ่ๆ 6 ชนิด ได้แก่
ลวดเชื่อมธูป หรือ ลวดเชื่อมธูปไฟฟ้า (Welding Electrode) เป็นลวดเชื่อมที่ด้านนอกจะมีสารเคลือบ (Flux) ดูแล้วมีลักษณะคล้ายธูปที่จุดทั่วไป แกนกลางเป็นลวดโลหะ ซึ่งตัวโลหะนี้จะมีอยู่หลายชนิด เช่น ลวดเชื่อมเหล็ก และลวดเชื่อมสแตนเลสเลือกใช้ตามประเภทของชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม เป็นลวดเชื่อมที่นิยมใช้งานกันมาก อุปกรณ์และเส้นลวดเชื่อมมีราคาไม่แพง มีหลายขนาด ตั้งแต่ 2.0 , 2.6 , 3.2 , 4.0 และ 5.0
ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Wire) มีลักษณะเป็นลวดเชื่อมโลหะแบบเป็นม้วนลวดโลหะมีแกนกลวงบรรจุด้วยสารพอกคล้ายๆ สารพอกภายนอกของลวดเชื่อมแบบแรก แต่เปลี่ยนมาอยู่ภายในแทน มีราคาค่อนข้างสูง แต่มีประสิทธิภาพสูง เชื่อมได้รวดเร็วและสวยงาม
ลวดเชื่อมมิก หรือ ลวดเชื่อม CO2 (Mig welding wire) เป็นลวดเชื่อมแบบลวดโลหะเปลือยไม่มีสารพอกหุ้มภายนอก มีลักษณะเป็นม้วน ข้อดีคือเชื่อมได้เร็ว และมีต้นทุนค่าลวดเชื่อมต่ำ
ลวดเชื่อมทิก หรือ ลวดเชื่อมอาร์กอน (Tig welding rod) มีลักษณะคล้ายลวดเชื่อมมิก คือเป็นลวดเชื่อมเปลือยเช่นเดียวกัน แต่จะมาแบบเป็นเส้นๆ แต่ละเส้นยาวประมาณ 1 เมตร ไม่ได้มาเป็นม้วนเหมือนลวดเชื่อมมิก แบบนี้นิยมใช้กับงานเชื่อมที่มีความละเอียด มีทั้งที่เป็น เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส ทองเหลือง และโลหะอื่นๆ
ลวดเชื่อมเซาะร่อง หรือลวดเชื่อมเกาจ์ (Gouging Electrode) เป็นลวดเชื่อมแบบพิเศษที่มีไว้ใช้ในการกำจัดเนื้อโลหะที่เชื่อมไม่ได้คุณภาพให้ออกไปจากชิ้นงาน และยังใช้ในการทำความสะอาดแนวเชื่อมเพื่อเตรียมชิ้นงานก่อนการเชื่อมอีกด้วย เหมาะสำหรับใช้ในการเซาะร่อง เจาะรู หรือ ใช้ในงานตัด
ลวดเชื่อมพิเศษ เป็นกลุ่มชนิดของลวดเชื่อมที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะ เช่น ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง ลวดเชื่อมอินโคเนล ลวดเชื่อมไฟฟ้าอลูมิเนียม ลวดเชื่อมนิกเกิ้ลอัลลอยด์ ลวดเชื่อมไฟฟ้าทองแดง เป็นต้น
การเชื่อมงานในท่าต่างๆ (welding position)
ในงานเชื่อมไม่ว่าจะเป็นเชื่อมแก็ส หรือเชื่อมไฟฟ้า ท่าเชื่อมที่สามารถทำการเชื่อมได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นคือ การเชื่อมท่าราบ แต่สภาวะจริงในการปฏิบัติงานไม่สามารถเลือกท่าที่ถนัดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของงานที่ทำอยู่
การเชื่อมต่อชนท่าราบ การเชื่อมท่าราบเป็นการเชื่อมที่สามารถควบคุมการเชื่อมได้ง่าย การเชื่อมท่าราบนั้น ลวดเชื่อมทำมุมกับงาน (มุมเดิน) ประมาณ 67-75 องศา และทำมุมกับชิ้นงานด้านข้าง (มุมงาน) 90 องศา ทำการเชื่อมทางซ้ายมือไปขวามือ
การเชื่อมต่อชนท่าขนานนอน สำหรับผู้ฝึกเชื่อมใหม่ๆ เนื่องจากน้ำโลหะจะไหลย้อนลงมาอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลก ทำให้แนวเชื่อมไม่แข็งแรงเท่าที่ควร แต่ก็สามารถเชื่อมได้ดี ถ้ามีการฝึกเชื่อมจนกระทั่งชำนาญ การหลอมละลายลึกสามารถควบคุมได้ด้วยระยะอาร์ก และมุมในการเชื่อม
การเชื่อมต่อชนท่าตั้ง เทคนิควิธีการที่จะทำให้น้ำโลหะไหลย้อนน้อยก็คือ เมื่อเคลื่อนที่ส่ายลวดเชื่อม ควรหยุดบริเวณขอบของรอยต่อชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แนวเชื่อมตรงกลางแข็งตัว และลดการย้อยของน้ำโลหะได้
การเชื่อมต่อชนท่าเหนือศีรษะ การเชื่อมท่าเหนือศีรษะนี้ ผู้เชื่อมต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายเป็นอย่างดี มุมเดิน และ มุมงานของลวดเชื่อมที่กระทำกับงาน เหมือนกับการเชื่อมท่าราบ แต่เพียงเชื่อมงานในลักษณะคว่ำลงเท่านั้น
การเชื่อมต่อตัวทีท่าขนานนอน การเชื่อมแนวแรก ลวดเชื่อมทำมุมกับงานขณะเดิน (มุมเดิน) ประมาณ 67-70 องศา และมีงาน ประมาณ 40-50 องศา กับชิ้นงาน
การเชื่อมต่อตัวทีท่าตั้ง การเชื่อมแนวแรก ลวดเชื่อมมีมุมเดินประมาณ 70-80 องศา มีมุมงานประมาณ 45 องศา เพื่อไม่ให้น้ำโลหะไหลย้อนมากขณะเคลื่อนส่าย ควรหยุดบริเวณขอบของแนวเชื่อมชั่วขณะหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้แนวเชื่อมบริเวณตรงกลางและที่ขอบอีกข้างหนึ่งเย็นตัวลง
การเชื่อมต่อตัวทีท่าเหนือศีรษะ การเชื่อมต่อตัวทีและการเชื่อมต่อมุมภายใน ท่าเชื่อมเหนือศีรษะ ลวดเชื่อมจะทำมุมกับงานมีมุมเดิน 85 องศา มีมุมงานประมาณ 40-45 องศา
การเชื่อมต่อมุมภายนอกท่าขนานนอน ลวดเชื่อมทำมุมกับชิ้นงานโดยมีมุมเดินประมาณ 65-75 องศา มีมุมงาน 130-140
ลวดเชื่อม เป็นวัสดุหลักที่ช่างเชื่อมใช้ทำงานในด้านงานเชื่อมโลหะ ทำให้ชิ้นงานที่เป็นโลหะ 2 ชิ้น หลอมเหลวเข้ากันเป็นชิ้นเดียวกัน น้ำโลหะเหลวที่เกิดจากลวดเชื่อม ทำให้ชิ้นงานติดกันมีความแข็งแรงสามารถรับแรง และคงรูปอยู่ได้ ช่างเชื่อมและคนใช้งานลวดเชื่อมทั่วไปคงคุ้นตากันดี ” ว่าแต่ลวดเชื่อมมีกี่ชนิดกันนะ ” มาดูกันครับ
ลวดเชื่อม แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่
1. ลวดเชื่อมธูป หรือ ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลั๊กซ์ (Covered Welding Electrode)
– เป็นลวดเชื่อมที่ด้านนอกจะมีสารเคลือบฟลั๊กซ์ (Flux) มีลักษณะคล้ายธูป ด้านในเป็นลวดโลหะ ซึ่งลวดโลหะมีอยู่หลายชนิด เช่น ลวดเชื่อมเหล็ก และ ลวดเชื่อมสแตนเลส สามารถเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม เป็นลวดเชื่อมที่นิยมใช้งานกันมากในหมู่ช่างเชื่อม อุปกรณ์และเส้นลวดเชื่อมมีราคาไม่แพง มีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน ตั้งแต่ 2.0 , 2.6 , 3.2 , 4.0 และ 5.0
2. ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Wire)
– เป็นลวดเชื่อมโลหะแบบเป็นม้วน ลวดมีแกนกลวงบรรจุด้วยสารพอกอยู่ภายในลวด ต่างจากลวดเชื่อมธูปไฟฟ้า (Welding Electrode) ที่สารพอกจะอยู่ภายนอกลวดเชื่อม ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Wire) มีราคาค่อนข้างสูง แต่มีประสิทธิภาพสูง เชื่อมได้รวดเร็วและสวยงาม
3. ลวดเชื่อมมิก/แมก (MIG/MAG) หรือ ลวดเชื่อม CO2 (MIG Welding Wire)
– เป็นลวดเชื่อมโลหะแบบเปลือย เปลือกไม่มีสารพอกหุ้มภายนอก มีลักษณะเป็นม้วน ข้อดีคือเชื่อมได้เร็ว ต้องใช้แก๊สซีโอทู Co2 (แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์) ปกคลุม ใช้ในอุตสาหกรรมงานประกอบเหล็กทั่วไป งานอุตสาหกรรมรถยนต์ และงานโครงสร้างทั่วไป
4. ลวดเชื่อมทิก หรือ ลวดเชื่อมอาร์กอน (Tig Welding Rod)
– เป็นลวดเชื่อมเปลือยมีลักษณะคล้ายลวดเชื่อมมิก แต่จะเป็นแบบเส้นตรง แต่ละเส้นมีความยาวประมาณ 1 เมตร นิยมใช้กับงานเชื่อมที่มีความละเอียด มีทั้งที่เป็น เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส (308L , 309L , 310L , 316L) ทองเหลือง และโลหะอื่นๆ มีขนาดตั้งแต่ 1.6 , 2.0 , 2.4 และ 3.2 มม.
5. ลวดเชื่อมเซาะร่อง หรือ ลวดเชื่อมเกาจ์ (Gouging Electrode)
– เป็นลวดเชื่อมชนิดกลมแบบพิเศษ สำหรับงานเซาะร่องโลหะ ตัดโลหะ กำจัดเนื้อโลหะที่เชื่อมไม่ได้คุณภาพให้ออกจากชิ้นงาน และสามารถใช้ทำความสะอาดแนวเชื่อมสำหรับเตรียมชิ้นงานก่อนเชื่อม โดยใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า
6. ลวดเชื่อมพิเศษ
– เป็นลวดเชื่อมที่แบ่งกลุ่มออกมาเพื่อใช้งานเฉพาะ เช่น ลวดเชื่อมทนแรงดึงสูง , ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง , ลวดเชื่อมอินโคเนล , ลวดเชื่อมไฟฟ้าอลูมิเนียม , ลวดเชื่อมนิกเกิลอัลลอยด์ , ลวดเชื่อมไฟฟ้าทองแดง และ ลวดเชื่อมประสาน เป็นต้น
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์