เชื่อมเหล็กหล่อ เลือกใช้ลวดเชื่อมเหล็กหล่ออย่างไรดี 98นิเกิล หรือ 55นิเกิล

เชื่อมเหล็กหล่อ

เชื่อมเหล็กหล่อ มีหลักการเลือกใช้ลวดเชื่อมเหล็กหล่อ โดยทั่วไปมีอยู่ 3 สิ่ง ดังนี้ ต้นทุนในการเชื่อม, ความยากง่ายการกลึงแต่งหลังการเชื่อม และต้องการเชื่อมชั้นเดียว หรือหลายชั้น ลวดเชื่อมเหล็กหล่อที่นิยมกัน จะมี 2 เกรด คือ 98% นิเกิล และ 55%นิเกิล

98%นิเกิล

ลวดเชื่อมเหล็กหล่อ 98%Ni (AWS ENi-CI) เป็นลวดเชื่อมที่มีแกนนิเกิล 98 เปอร์เซ็นต์นั่นเอง ซึ่งนิเกิลเป็นธาตุหายาก และมีราคาแพง ทำให้ลวดเชื่อมนี้เป็นตัวหนึ่งซึ่งเป็นเกรดพรีเมี่ยมในการเชื่อมเหล็กเลยที่เดียว ให้แนวเชื่อมหลังเชื่อมที่สามารถกลึงแต่งได้ง่าย เป็นข้อพิจารณาในการเลือกลวดเชื่อมนี้เป็นสำคัญ อีกทั้งแนวเชื่อมมีความเหนียวยืดหยุ่น ทนต่อการแตกร้าวได้ดี โดยมากจะใช้ในการซ่อมแซมการแตกร้าวที่ต้องการเชื่อมแบบ ชั้นเดียว (Single Pass) บนชิ้นงานเหล็กหล่อซึ่งมีการเจือปนคาร์บอนเข้าสู่แนวเชื่อมได้ง่าย ถึงกระนั้นก็ยังให้แนวเชื่อมที่กลึงแต่งได้ดี และใช้ได้ดีกับเหล็กหล่อที่มีธาตุฟอสฟอรัส ต่ำ-ปานกลาง (ธาตุนี้เป็นต้นเหตุการแตกร้าวหลังเชื่อม) ข้อเสียที่ควรพิจารณาคือราคาค่อนข้างสูง

เชื่อมเหล็กหล่อ นิเกิลสูง 98%

55%นิเกิล

ลวดเชื่อมเหล็กหล่อ 55%Ni (AWS ENiFe-CI) เป็นลวดเชื่อมที่มีแกนนิเกิล 55 เปอร์เซ็นต์นั่นเอง ด้วยเปอร์เซ็นต์ของนิเกิลที่ต่ำกว่าทำให้ลวดเชื่อมนี้มีราคาที่ถูกกว่า 98%นิเกิล แนวเชื่อมหลังเชื่อมจะสามารถกลึงแต่งได้ปานกลาง อันเนื่องมาจากการเจือปนคาร์บอนเข้าสู่แนวเชื่อมทำให้ยากต่อการกลึงแต่ง โดยทั่วไปเหมาะสำหรับการเชื่อมซ่อมรอยแตกร้าวเหล็กหล่อที่มีความหนามาก และต้องการความแข็งแรง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกัน 98%นิเกิลแล้วให้รอยเชื่อมที่มี่ความแข็งแรงที่สูงกว่า เหนียวกว่า และรับมือการแตกร้าวที่มาจากเจือปนของธาตุฟอสฟอรัสในชิ้นงานเหล็กหล่อได้มากกว่าด้วย อีกทั้งแนวเชื่อมนั้นมีค่าสัมประสิทธิการขยายตัวทางความร้อนที่ต่ำกว่า ทำให้ทนต่อการเกิดการแตกร้าวได้ดี

เชื่อมเหล็กหล่อ นิเกิลสูง 98%หลักการพิจารณาเลือกลวดเชื่อมเหล็กหล่อ

  • ต้นทุนในการเชื่อม
  • ความยากง่าย การกลึงแต่งหลังการเชื่อม
  • ต้องการเชื่อมชั้นเดียว หรือหลายชั้น

 

ความรู้เพิ่มเติมเรื่องเหล็กหล่อ โดยเหล็กหล่อมีกี่ชนิด
สำหรับการหล่อเหล็กประเภทนี้ จะใช้ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จะแบ่งออกเป็น 5 ชนิดด้วยกัน ซึ่งในแต่ละชนิดนั้น จะมีคุณสมบัติ รวมถึงปริมาณของคาร์บอนที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนผสมทางเคมีของเหล็กหล่อนแต่ละชนิดนั้น มีรายละเอียดดังนี้

1. เหล็กหล่อมัลเลียเบิ้ล
สำหรับเหล็กหล่อมัลเลียเบิ้ลนี้ จะทำมาจากเหล็กหล่อสีขาว โดยการให้ความร้อนเหล็กอุณหภูมิที่ 1,600 F ซึ่งต้องเป็นการเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้า ๆ ทิ้งเวลาไว้ตั้งแต่ 25 – 60 ชั่วโมง หลังจากนั้นค่อย ๆ ทำให้เย็นตัวลง ด้วย10 F / ชั่วโมง สำหรับเหล็กหล่อสีขาวนี้ จะกลางเป็นเหล็กหล่อมัลเลียเบิ้ล ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากเหล็กหล่อสีขาวคือ มีความอ่อนกว่า และมีความเหนียวเพิ่มขึ้น

2. เหล็กหล่อผสม
สำหรับเหล็กหล่อผสมนี้ เป็นเหล็กหล่อที่มีการนำเอาธาตุอื่น ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน เพื่อเปลี่ยนลักษณะโครงสร้าง พร้อมด้วยการปรับปรุงคุณสมบัติให้เหมาะสมตามสภาพการใช้งานโดยเฉพาะ ซึ่งเหล็กหล่อประสมนี้ จะมีอยู่หลายชนิดตามธาตุที่ผสมอยู่ ซึ่งได้แก่ เหล็กหล่อ ผสมโครเมียมสูงคือ เหล็กหล่อที่มีโครเมียมผสมอยู่สูงมากถึง 20 – 30% สำหรับเหล็กหล่อประเภทนี้ จะมีคุณสมบัติพิเศษคือ ทนทานต่อการสึกหรอได้ เหล็กหล่อ ผสมนิเกิลสูง
สำหรับเหล็กหล่อชนิดนี้ จะมีนิเกิลผสมอยู่ถึง 14 – 30% ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งแกร่ง และทนต่อการสึกกร่อนได้ดี เหล็กหล่อ ผสมซิลิกอนสูง สำหรับเหล็กหล่อประเภทนี้ จะมีซิลิกอนผสมอยู่ตั้งแต่ 14% ขึ้นไป จึงมีคุณสมบัติพิเศษคือ ทนทานต่อความร้อนได้ดี

3. เหล็กหล่อสีเทา
สำหรับเหล็กหล่อมีเทานี้ ถือเป็นเหล็กหล่อที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะมีคาร์บอนผสมถึง 2.5 – 4% โดยคาร์บอนที่ผสมอยู่ 0.8% นั้น จะอยู่ในรุปของเหล็กคาร์ไบด์ และที่เหลือจะอยู่อย่างอิสระ

4. เหล็กหล่อขาว
สำหรับเหล็กหล่อสีขาวนี้ เป็นเหล็กที่มีคาร์บอนผสมอยู่โดยประมาณ 1.8 – 3.6% ในส่วนของคาร์บอนที่ผสมอยู่นี้ จะไม่อยู่ในรูปของกราไฟต์ แต่จะอยู่ในรูปของเหล็กคาร์ไบด์แทน ดังนั้นแล้ว เมื่อหักเหล็กหล่อชนิดนี้ออก จะเห็นเป็นสีขาว

5. เหล็กหล่อโนดูลาร์
สำหรับเหล็กหล่อประเภทนี้นั้น ถือเป็นเหล็กหล่อที่เหนียว เพราะเป็นเหล็กหล่อที่ได้รวมเอาข้อดีของเหล็กกล้า และเหล็กหล่อสีเทา เข้าไว้ด้วยกัน วิธีการผลิตคือ หลอมเหล็กดิบชนิดเดียวกันกับ ที่ใช้ทำเหล็กสีเทา จากนั้นทำการเติมแมกนีเซียมตามลงไป ซึ่งแมกนีเซียมนี้ จะทำการเปลี่ยนรูปร่างของกราไฟต์ให้เป็นก้อนกลมได้

หวังว่าทุกท่านจะได้รับข้อมูลสินค้าเพื่อการตัดสินใจในการเลือกใช้ลวดเชื่อมเหล็กหล่อได้อย่างเหมาะสมกับงานเชื่อมนะครับ!!!

 

 

 

ใส่ความเห็น