ลวดเชื่อมไฟฟ้า THE SUN รุ่น 33 เชื่อมนิ่ม ควันน้อย สแลกร่อนง่าย เชื่อมได้ดีในทุกท่าเชื่อม
ลวดเชื่อมไฟฟ้า THE SUN รุ่น 33 เป็นลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ การเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเ
ลวดเชื่อม THE SUN รุ่น เดอะซัน 33 ใช้สำหรับเชื่อมงานโครงสร้างเหล็กทั่วไป งานเชื่อมเหล็กดัด โครงสร้างเหล็กที่บาง เชื่อมได้ดีทุกท่าเชื่อม ควันน้อย ประหยัดไฟในการเชื่อม ใช้ได้ดีกับตู้เชื่อมขนาดเล็ก สินค้าไทย มาตรฐานส่งออก ที่มืออาชีพชอบใช้ คุ้มค่า คุ้มราคา
จุดเด่น
- ลวดเชื่อม THE SUN 33 เชื่อมนิ่ม การอาร์คสม่ำเสมอ
- เชื่อมได้ดี ในทุกท่าเชื่อม ควันในการเชื่อมน้อย สแลกร่อนง่าย
- ได้รับมาตราฐาน ISO 9001:2015 ,ไทยแลนด์แบรนด์ และ มาตรฐานลอยด์ (UK)
- การันตีการผลิตสินค้า ด้วยมาตราฐานส่งออก และจำหน่ายตลาดต่างประเทศ
รายละเอียด
- ลวดเชื่อมไฟฟ้า THE SUN รุ่น 33 เป็นลวดเชื่อมหุ้นฟลักซ์ชนิดไททาเนียม ลวดเชื่อมอาร์คนิ่ม เชื่อมง่าย ทุกท่าเชื่อม
- เหมาะสำหรับการเชื่อมเหล็กแผ่นบาง และ โครงสร้างเหล็กที่บาง อาทิเช่น ประตูเหล็ก โครงหลังคาเหล็ก งานเชื่อมเหล็กดัด งานซ่อมสร้าง งานเหล็กทั่วไป
- ตะเข็บในการเชื่อม เป็นมันวาว ทำให้ ผิวรอยเชื่อมที่ได้ มีความเรียบร้อยสวยงาม แนวการเชื่อมสวย
- เหมาะสำหรับ เครื่องเชื่อม AC และ DC ขนาดเล็ก ใช้กระแสไฟต่ำ
- มีให้เลือกใช้ 3 ขนาด 2.6 มม. , 3.2 มม. และ 4.0 มม.
ข้อแนะนำในการใช้ลวดเชื่อม
- ไม่ควรใช้กระแสไฟเชื่อมสูงกว่าที่แนะนำ หรือกำหนดไว้ที่ข้างกล่องของลวดเชื่อม
- ในการเชื่อมท่าตั้ง-ลาดลง ควรให้ปลายลวดเชื่อม แตะกับแผ่นชิ้นงาน
- ควรอบลวดเชื่อมก่อนการใช้งาน ที่อุณหภูมิ 70 – 100 องศาเซลเซียล เป็นเวลา 30-60 นาที การที่ลวดเชื่อมดูดซับความชื้นมากเกินไป จะทำให้คุณสมบัติในการใช้งานของลวดเชื่อมต่ำลง และอาจทำให้เกิดฟองอากาศขึ้นในรอยเชื่อม
คุณสมบัติ
ขนาด | กว้าง x ยาว x สูง (ลัง) | บรรจุ |
2.6 มม. | 21 x 37 x 8 ซม. | 20 กก./ลัง |
3.2 มม. | 17 x 37 x 10 ซม. | 20 กก./ลัง |
4.0 มม. | 17 x 43 x 9 ซม. | 20 กก./ลัง |
สินค้าภายในกล่อง
1 x ลวดเชื่อม รุ่น เดอะซัน – 33 ขนาด 2.6 มม. (2 กก./กล่อง , 20 กก./ลัง) |
1 x ลวดเชื่อม รุ่น เดอะซัน – 33 ขนาด 3.2 มม. (5 กก./กล่อง , 20 กก./ลัง) |
1 x ลวดเชื่อม รุ่น เดอะซัน – 33 ขนาด 4.0 มม. (5 กก./กล่อง , 20 กก./ลัง) |
สะดวกช็อปหลากหลายช่องทาง คลิกเลยที่นี่ !!!
เกร็ดความรู้เรื่องการเชื่อมไฟฟ้า
การเชื่อมไฟฟ้า คือ การเชื่อมอาร์คประเภทหนึ่งใช้อิเล็กโทรด หรือ ก้านธูปที่หุ้มด้วยฟลักซ์ในการเชื่อมโลหะ
กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการเชื่อม มีทั้งไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และ ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) สร้างอาร์คขึ้น ระหว่างปลายอิเล็กโทรด กับผิวชิ้นงานที่เชื่อม เปลวอาร์คทำให้ผิวชิ้นงาน และ อิเล็กโทรดหลอมเหลวที่ผิวชิ้นงาน เกิดเป็นบ่อหลอม เนื้อวัสดุจากอิเล็กโทรดหลอมลงไปในบ่อหลอม รวมกันเกิดเป็นเนื้อเชื่อม และ แนวเชื่อมฟลักซ์ที่หุ้มอิเล็กโทรดอยู่หลอมเหลว และเปลี่ยนสภาพกลายเป็นแก๊สปกคลุม บางส่วนเกิดเป็นสแลกปกคลุมแนวเชื่อม ซึ่งแก๊สปกคลุมและสแลกนี้ทำหน้าที่ป้องกันบรรยากาศรายรอบไม่ให้เข้าไปปนเปื้อนในเนื้อเชื่อม
เนื่องจากกระบวนการเชื่อมนี้มีความยืดหยุ่น อาศัยอุปกรณ์ และ การปฏิบัติงานที่ไม่ซับซ้อน ทำให้กระบวนการนี้ใช้อย่างแพร่หลายที่สุด เมื่อเทียบกับกระบวนการเชื่อมอื่นๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุง และ ในการก่อสร้างโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ โลหะที่เชื่อมด้วยกระบวนการนี้โดยมากคือกลุ่มงานเหล็กซึ่งรวมถึงสเตเลสด้วย นอกจากนี้โลหะผสม กลุ่ม อะลูมิเนียม นิกเกิล และ ทองแดง ก็ใช้กระบวนการเชื่อมนี้ด้วยเช่นกัน
วิธีการเลือกลวดเชื่อมไฟฟ้า
- พิจารณาดูก่อนว่าชิ้นงานเชื่อมเป็นวัสดุชนิดใดแล้วจึงเลือกลวดเชื่อม
- ศึกษารายละเอียดองค์ประกอบต่างๆของการปฏิบัติงานเชื่อม เช่น การปรับตั้งกระแสไฟเชื่อม การตั้งมุมลวดเชื่อม โดยสามารถศึกษาได้จากรายละเอียดข้างกล่องลวดเชื่อม
- การเลือกขนาดลวดเชื่อมจะต้องเหมาะสมสัมพันธ์กับความหนาของชิ้นงาน โดยขนาดของลวดเชื่อมจะวัดบริเวณแกนลวดที่ไม่มีฟลักซ์หุ้ม
ชนิดของลวดเชื่อมที่ช่างเชื่อมใช้ในการทำงาน แบ่งออกได้เป็นชนิดใหญ่ๆ 6 ชนิด ได้แก่
ลวดเชื่อมธูป หรือ ลวดเชื่อมธูปไฟฟ้า (Welding Electrode) เป็นลวดเชื่อมที่ด้านนอกจะมีสารเคลือบ (Flux) ดูแล้วมีลักษณะคล้ายธูปที่จุดทั่วไป แกนกลางเป็นลวดโลหะ ซึ่งตัวโลหะนี้จะมีอยู่หลายชนิด เช่น ลวดเชื่อมเหล็ก และลวดเชื่อมสแตนเลสเลือกใช้ตามประเภทของชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม เป็นลวดเชื่อมที่นิยมใช้งานกันมาก อุปกรณ์และเส้นลวดเชื่อมมีราคาไม่แพง มีหลายขนาด ตั้งแต่ 2.0 , 2.6 , 3.2 , 4.0 และ 5.0
ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Wire) มีลักษณะเป็นลวดเชื่อมโลหะแบบเป็นม้วนลวดโลหะมีแกนกลวงบรรจุด้วยสารพอกคล้ายๆ สารพอกภายนอกของลวดเชื่อมแบบแรก แต่เปลี่ยนมาอยู่ภายในแทน มีราคาค่อนข้างสูง แต่มีประสิทธิภาพสูง เชื่อมได้รวดเร็วและสวยงาม
ลวดเชื่อมมิก หรือ ลวดเชื่อม CO2 (Mig welding wire) เป็นลวดเชื่อมแบบลวดโลหะเปลือยไม่มีสารพอกหุ้มภายนอก มีลักษณะเป็นม้วน ข้อดีคือเชื่อมได้เร็ว และมีต้นทุนค่าลวดเชื่อมต่ำ
ลวดเชื่อมทิก หรือ ลวดเชื่อมอาร์กอน (Tig welding rod) มีลักษณะคล้ายลวดเชื่อมมิก คือเป็นลวดเชื่อมเปลือยเช่นเดียวกัน แต่จะมาแบบเป็นเส้นๆ แต่ละเส้นยาวประมาณ 1 เมตร ไม่ได้มาเป็นม้วนเหมือนลวดเชื่อมมิก แบบนี้นิยมใช้กับงานเชื่อมที่มีความละเอียด มีทั้งที่เป็น เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส ทองเหลือง และโลหะอื่นๆ
ลวดเชื่อมเซาะร่อง หรือลวดเชื่อมเกาจ์ (Gouging Electrode) เป็นลวดเชื่อมแบบพิเศษที่มีไว้ใช้ในการกำจัดเนื้อโลหะที่เชื่อมไม่ได้คุณภาพให้ออกไปจากชิ้นงาน และยังใช้ในการทำความสะอาดแนวเชื่อมเพื่อเตรียมชิ้นงานก่อนการเชื่อมอีกด้วย เหมาะสำหรับใช้ในการเซาะร่อง เจาะรู หรือ ใช้ในงานตัด
ลวดเชื่อมพิเศษ เป็นกลุ่มชนิดของลวดเชื่อมที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะ เช่น ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง ลวดเชื่อมอินโคเนล ลวดเชื่อมไฟฟ้าอลูมิเนียม ลวดเชื่อมนิกเกิ้ลอัลลอยด์ ลวดเชื่อมไฟฟ้าทองแดง เป็นต้น
การเชื่อมงานในท่าต่างๆ (welding position)
ในงานเชื่อมไม่ว่าจะเป็นเชื่อมแก็ส หรือเชื่อมไฟฟ้า ท่าเชื่อมที่สามารถทำการเชื่อมได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นคือ การเชื่อมท่าราบ แต่สภาวะจริงในการปฏิบัติงานไม่สามารถเลือกท่าที่ถนัดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของงานที่ทำอยู่
การเชื่อมต่อชนท่าราบ การเชื่อมท่าราบเป็นการเชื่อมที่สามารถควบคุมการเชื่อมได้ง่าย การเชื่อมท่าราบนั้น ลวดเชื่อมทำมุมกับงาน (มุมเดิน) ประมาณ 67-75 องศา และทำมุมกับชิ้นงานด้านข้าง (มุมงาน) 90 องศา ทำการเชื่อมทางซ้ายมือไปขวามือ
การเชื่อมต่อชนท่าขนานนอน สำหรับผู้ฝึกเชื่อมใหม่ๆ เนื่องจากน้ำโลหะจะไหลย้อนลงมาอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลก ทำให้แนวเชื่อมไม่แข็งแรงเท่าที่ควร แต่ก็สามารถเชื่อมได้ดี ถ้ามีการฝึกเชื่อมจนกระทั่งชำนาญ การหลอมละลายลึกสามารถควบคุมได้ด้วยระยะอาร์ก และมุมในการเชื่อม
การเชื่อมต่อชนท่าตั้ง เทคนิควิธีการที่จะทำให้น้ำโลหะไหลย้อนน้อยก็คือ เมื่อเคลื่อนที่ส่ายลวดเชื่อม ควรหยุดบริเวณขอบของรอยต่อชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แนวเชื่อมตรงกลางแข็งตัว และลดการย้อยของน้ำโลหะได้
การเชื่อมต่อชนท่าเหนือศีรษะ การเชื่อมท่าเหนือศีรษะนี้ ผู้เชื่อมต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายเป็นอย่างดี มุมเดิน และ มุมงานของลวดเชื่อมที่กระทำกับงาน เหมือนกับการเชื่อมท่าราบ แต่เพียงเชื่อมงานในลักษณะคว่ำลงเท่านั้น
การเชื่อมต่อตัวทีท่าขนานนอน การเชื่อมแนวแรก ลวดเชื่อมทำมุมกับงานขณะเดิน (มุมเดิน) ประมาณ 67-70 องศา และมีงาน ประมาณ 40-50 องศา กับชิ้นงาน
การเชื่อมต่อตัวทีท่าตั้ง การเชื่อมแนวแรก ลวดเชื่อมมีมุมเดินประมาณ 70-80 องศา มีมุมงานประมาณ 45 องศา เพื่อไม่ให้น้ำโลหะไหลย้อนมากขณะเคลื่อนส่าย ควรหยุดบริเวณขอบของแนวเชื่อมชั่วขณะหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้แนวเชื่อมบริเวณตรงกลางและที่ขอบอีกข้างหนึ่งเย็นตัวลง
การเชื่อมต่อตัวทีท่าเหนือศีรษะ การเชื่อมต่อตัวทีและการเชื่อมต่อมุมภายใน ท่าเชื่อมเหนือศีรษะ ลวดเชื่อมจะทำมุมกับงานมีมุมเดิน 85 องศา มีมุมงานประมาณ 40-45 องศา
การเชื่อมต่อมุมภายนอกท่าขนานนอน ลวดเชื่อมทำมุมกับชิ้นงานโดยมีมุมเดินประมาณ 65-75 องศา มีมุมงาน 130-140
ลวดเชื่อม เป็นวัสดุหลักที่ช่างเชื่อมใช้ทำงานในด้านงานเชื่อมโลหะ ทำให้ชิ้นงานที่เป็นโลหะ 2 ชิ้น หลอมเหลวเข้ากันเป็นชิ้นเดียวกัน น้ำโลหะเหลวที่เกิดจากลวดเชื่อม ทำให้ชิ้นงานติดกันมีความแข็งแรงสามารถรับแรง และคงรูปอยู่ได้ ช่างเชื่อมและคนใช้งานลวดเชื่อมทั่วไปคงคุ้นตากันดี ” ว่าแต่ลวดเชื่อมมีกี่ชนิดกันนะ ” มาดูกันครับ
ลวดเชื่อม แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่
1. ลวดเชื่อมธูป หรือ ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลั๊กซ์ (Covered Welding Electrode)
– เป็นลวดเชื่อมที่ด้านนอกจะมีสารเคลือบฟลั๊กซ์ (Flux) มีลักษณะคล้ายธูป ด้านในเป็นลวดโลหะ ซึ่งลวดโลหะมีอยู่หลายชนิด เช่น ลวดเชื่อมเหล็ก และ ลวดเชื่อมสแตนเลส สามารถเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม เป็นลวดเชื่อมที่นิยมใช้งานกันมากในหมู่ช่างเชื่อม อุปกรณ์และเส้นลวดเชื่อมมีราคาไม่แพง มีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน ตั้งแต่ 2.0 , 2.6 , 3.2 , 4.0 และ 5.0
2. ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Wire)
– เป็นลวดเชื่อมโลหะแบบเป็นม้วน ลวดมีแกนกลวงบรรจุด้วยสารพอกอยู่ภายในลวด ต่างจากลวดเชื่อมธูปไฟฟ้า (Welding Electrode) ที่สารพอกจะอยู่ภายนอกลวดเชื่อม ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Wire) มีราคาค่อนข้างสูง แต่มีประสิทธิภาพสูง เชื่อมได้รวดเร็วและสวยงาม
3. ลวดเชื่อมมิก/แมก (MIG/MAG) หรือ ลวดเชื่อม CO2 (MIG Welding Wire)
– เป็นลวดเชื่อมโลหะแบบเปลือย เปลือกไม่มีสารพอกหุ้มภายนอก มีลักษณะเป็นม้วน ข้อดีคือเชื่อมได้เร็ว ต้องใช้แก๊สซีโอทู Co2 (แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์) ปกคลุม ใช้ในอุตสาหกรรมงานประกอบเหล็กทั่วไป งานอุตสาหกรรมรถยนต์ และงานโครงสร้างทั่วไป
4. ลวดเชื่อมทิก หรือ ลวดเชื่อมอาร์กอน (Tig Welding Rod)
– เป็นลวดเชื่อมเปลือยมีลักษณะคล้ายลวดเชื่อมมิก แต่จะเป็นแบบเส้นตรง แต่ละเส้นมีความยาวประมาณ 1 เมตร นิยมใช้กับงานเชื่อมที่มีความละเอียด มีทั้งที่เป็น เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส (308L , 309L , 310L , 316L) ทองเหลือง และโลหะอื่นๆ มีขนาดตั้งแต่ 1.6 , 2.0 , 2.4 และ 3.2 มม.
5. ลวดเชื่อมเซาะร่อง หรือ ลวดเชื่อมเกาจ์ (Gouging Electrode)
– เป็นลวดเชื่อมชนิดกลมแบบพิเศษ สำหรับงานเซาะร่องโลหะ ตัดโลหะ กำจัดเนื้อโลหะที่เชื่อมไม่ได้คุณภาพให้ออกจากชิ้นงาน และสามารถใช้ทำความสะอาดแนวเชื่อมสำหรับเตรียมชิ้นงานก่อนเชื่อม โดยใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า
6. ลวดเชื่อมพิเศษ
– เป็นลวดเชื่อมที่แบ่งกลุ่มออกมาเพื่อใช้งานเฉพาะ เช่น ลวดเชื่อมทนแรงดึงสูง , ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง , ลวดเชื่อมอินโคเนล , ลวดเชื่อมไฟฟ้าอลูมิเนียม , ลวดเชื่อมนิกเกิลอัลลอยด์ , ลวดเชื่อมไฟฟ้าทองแดง และ ลวดเชื่อมประสาน เป็นต้น
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์